บทความ

ทำความรู้จัก TON (Toncoin) บล็อกเชนที่โดดเด่นด้านความเร็วและราคา อนาคตของโครงสร้างพื้นฐาน Web3 สำหรับ Telegram

image

TON (Toncoin) เริ่มเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้ชื่นชอบคริปโทเคอร์เรนซีที่เป็นสกุลเงินดิจิทัลและเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ The Open Network (TON) ที่เคยได้รับการพัฒนาจากทีมพัฒนาแอปพลิเคชันสนทนาชื่อดังอย่าง Telegram ที่การพัฒนาผ่านความท้าทายด้านกฎระเบียบ ก่อนจะก้ามข้ามผ่านความเปลี่ยนมาสู่ทีมพัฒนาจาก Ton Foundation ถือได้ว่าเป็นเครื่องพิสูจน์ระบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่นและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันของ Toncoin ซึ่งให้มุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้งานบนโลกบล็อกเชน

TON (Toncoin) คืออะไร

Toncoin (TON) คือ สกุลเงินดิจิทัลดั้งเดิม (Native Token) ของบล็อกเชน TON (The Open Network) ซึ่งเดิมทีได้รับการพัฒนาจากทีมพัฒนา Telegram แต่เนื่องด้วยกฎระเบียบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) เมื่อปี 2020 ทำให้ทางต้องตัดความสัมพันธ์กับโครงการบล็อกเชนของตนเอง ภายหลัง TON Foundation เข้ามาดูแลพัฒนาต่อจากโครงการดังกล่าว ที่มุ่งมั่นทำให้บล็อกเชนสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว คุ้มต้นทุน แและรองรับ Smart Contract

หลังจากที่ได้ฟื้นโครงการขึ้นมาอีกครั้ง Telegram ออกจากโครงการของ TON ได้เริ่มต้นการพัฒนาใหม่อีกครั้ง นักพัฒนาที่ไม่ได้สังกัดกัลทาง Telegram โดยเข้ามาดูแลโดเมนและที่เก็บโค้ดของ ton.org ในปี 2021

โดยเริ่มต่อตั้ง TON Foundation ซึ่งรับหน้าที่ในการสานต่อวิสัยทัศน์ของโครงการ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนชื่อใหม่จาก Toncoin มาป็น The Open Network (TON) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นใหม่

ภายใต้การดูแลของ TON Foundation เครือข่าย Testnet ของ Toncoin ซึ่งต่อมาได้รับการยกระดับให้เป็นเครือข่ายหลักหรือ Mainnet โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมเครือข่าย TON ถือเป็นการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ มี Toncoin เป็น สกุลเงินดั้งเดิม (Native Token) ที่ดำเนินการด้วยระบบฉันทามติ (consensus) แบบ Proof-of-Work Giver smart contracts บน Testnet ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น Proof-of-Stake (PoS) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของโครงการในการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของชุมชน

image

ภาพแสดงสถาปัตยกรรมของ TON ที่ประกอบด้วย masterchain, heterogeneous workchains และ homogeneous shardchains — ที่มา Coinmonks

สำหรับ The Open Network เป็นแพลตฟอร์มแบบกระจายอำนาจและเป็นอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์ม ที่มีส่วนประกอบด้วยหลายส่วนประกอบ ได้แก่ TON Blockchain, TON DNS, TON Storage และ TON Sites TON Blockchain เป็นโปรโตคอลหลักที่เชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐานของ TON ที่เชื่อการทำงานทั้งหมดเข้าด้วยในระบบนิเวศของ TON

โดย TON มีเป้าหมายในการบรรลุการทำงานแบบข้ามเครือข่าย หรือ cross-chain interoperability ด้วยการทำงานที่มีความปลอดภัย ออกแบบมาเพื่อสร้างระบบประมวลผลธุรกรรมที่สามารถทำได้หลายล้านรายการต่อวินาที (TPS) เพื่อรองรับผู้ใช้งานหลายร้อยล้านคน

TON Blockchain ได้รับการออกแบบมาให้เป็น “ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบกระจายอำนาจ” หรือ “ซูเปอร์เซิร์ฟเวอร์” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย สร้างการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตแบบกระจายอำนาจ

นอกจากนี้ TON Wallet ที่สามารถโอนคริปโทเคอร์เรนซีโดยไม่เสียค่าคอมมิชชันให้กับผู้ใช้งาน Telegrame รายอื่นๆ และเป็นวิธีหลักที่ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกันบนแอปพลิเคชัน Telegram สำหรับ TON Storage, TON Proxy (บริการ VPN แบบกระจายอำนาจ) และ TON DNS หรือ Ton naming system มีการทำงานในลักษณะเดียวกับการสร้างชื่อโดเมนเพื่อเชื่อมต่อกับสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ โดยเสนอการให้ใช้ชื่อ “.ton” เป็นโปรแกรมกำหนดชื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้กับบัญชี Smart contract หรือบนเครือข่ายโหนดต่างๆ บริการนี้ช่วยลดความยุ่งยากของกระบวนการเข้าถึงแอปพลิเคชันกระจายอำนาจ โดย

อนุญาตให้ผู้ใช้ใช้ชื่อโดเมนแบบสั้นและเรียบง่ายแทนอักขระตัวอักษรและตัวเลขยาวๆ ซึ่งชื่อโดเมนยังสามารถเชื่อมโยงกับที่อยู่กระเป๋าสตางค์ได้อีกด้วย

และ TON DApps เป็นแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนาในการสร้างและใช้งาน dApps เป็นการผสมผสานระหว่าง TON Virtual Machine (TVM), โครงสร้างพื้นที่สำหรับการปรับขนาด และฐานผู้ใช้งานจำนวนมากเป็นการเปิดโอกาสสำหรับการพัฒนานวัตกรรม เช่น การพัฒนา dApps สำหรับ DeFi, การสร้างบล็อกเชนเกม, และการสร้างโซเชียลมีเดียแบบกระจายอำนาจเพื่อส่งเสริมความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานและความสามารถในการเป็นเจ้าของข้อมูล

image

ภาพแอปพลิเคชันและบริการต่างๆ บนเครือข่าย TON ที่มา : ton.org

ผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนา TON (Toncoin)

Telegram Open Network (TON) เดิมก่อตั้งโดยพี่น้อง Pavel และ Nikolai Durov ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างแอปส่งข้อความ Telegram แต่อย่างไรก็ตามด้วยความท้าทายด้านกฎระเบียบในขณะนั้นทำให้ทาง Telegram ต้องยกเลิกโครงการบล็อกเชนไปในปี 2020 ต่อมาโครงการแบบ Open source TON ได้ถูกหยิบขึ้นมาอีกครั้ง และดำเนินการโดยกลุ่มนักพัฒนาอิสระที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Telegram เป็นผู้ริเริ่มและขับเคลื่อนการสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นการสานต่อและพัฒนา TON ดั้งเดิม โดยไม่มีการมีส่วนร่วมโดยตรงจากพี่น้อง Durov หรือบริษัท Telegram

TON ใช้งานสำหรับอะไร?

โทเคน TON ทำหน้าที่และมีบทบาทสำคัญหลายประการบนบล็อกเชน TON

— ใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน TON และชำระค่าธรรมเนียมแบบข้ามเครือข่าย ผู้ใช้งานเครือข่ายจะต้องจ่ายด้วย TON ในการดำเนินการธุรกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ที่ใช้งานบล็อกเชน Ethereum ที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมด้วย ETH

— ใช้จ่ายเป็นค่าจัดเก็บข้อมูลบนบล็อกเชน TON และเป็นค่าชื่อโดเมนบนบล็อกเชน

— Governance Token ผู้ที่ถือโทเคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลงคะแนนเสียงเพื่อพัฒนาเครือข่าย

— ใช้สำหรับ Staking สำหรับนักลงทุนบนเครือข่ายสามารถ Staking โทเคน TON เพื่อเป็นผู้ตรวจสอบการทำธุรกรรมบนเครือข่าย เช่นเดียวกับเครือข่ายอื่นๆ ที่ใช้ฉันทามติ Proof-of-Stake

Ton (Toncoin) กับ Telegram มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

คุณสมบัติที่น่าสนใจประการหนึ่งของ TON คือ การทำงงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นกับแอปพลิเคชัน Telegram มีเป้าหมายเพื่อนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาสู่ผู้ใช้งานหลายล้านคน อำนวยความสะดวกในการนำสกุลเงินดิจิทัลและการบริการแบบกระจายอำนาจมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น

— การชำระเงินในแอป : ผู้ใช้งานสามารถรับและส่ง Toncoin โดยตรงภายในแอปพลิเคชัน ทำให้การทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลทำได้ง่ายขึ้น

— การชำระเงินโดยบอท (Bot) : บอทของ Telegram สามารถใช้ประโยชน์จาก Telegram Stars (จ่ายเงินด้วย Toncoin) สำหรับบริการต่างๆ เช่น การชำระเงินแบบสมัครสมาชิก อีคอมเมิร์ซ และการสร้างรายได้จากทำคอนเทนต์

— การทำธุรกรรมแบบ Microtransactions : TON ช่วยให้สามารถชำระเงินแบบ Microtransactions ได้ หรือที่รู้จักการในรูปแบบของการซื้อบริการได้ภายในแอปพลเคชันหรือเกม ทำให้ผู้ใช้งานสามารถชำระเงิน ให้ทิปสำหรับผู้ที่สร้างคอนเทนต์ ซื้อสินค้า หรือสนับสนุนกิจกรรมทางการกุศลก็สามารถทำได้

image

ภาพแอปพลิเคชัน Telegram ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้กับ TON ที่มา : ton.org

ทำไม TON Blockchain และ Telegram ถึงกลายเป็นเครือข่ายยอดนิยมสำหรับเกม

บล็อคเชน TON (Telegram Open Network) มอบข้อดีที่น่าสนใจหลายประการให้กับนักพัฒนาเกม:

— รองรับการทำธุรกรรมจำนวนมากพร้อมค่าธรรมเนียมต่ำ ด้วยความสามารถในการปรับขนาด ที่ตัวสถาปัตยกรรมของ TON อนุญาตให้มีการทำธุรกรรมจำนวนต่อวินาที (TPS) ทำให้เหมาะสำหรับเกมที่มีฐานผู้เล่นจำนวนมากและการโต้ตอบแบบเรียลไทม์ รวมทั้งเรื่องค่าธรรมเนียมต่ำทำให้ ผู้เล่นสามารถเข้าร่วมในธุรกรรมในเกมได้ เช่น การซื้อไอเท็มหรือแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน

— การกระจายอำนาจและความปลอดภัย มีการบันทึกที่ไม่สามารถแก้ไขได้ (Immutable Records) ธุรกรรมบนบนบล็อกเชน TON จะถูกบันทึกใน ledger ที่จัดเก็บแยก ช่วยให้เกิดความโปร่งใสและป้องกันการปลอมแปลง รวมถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องทรัพย์และธุรกรรมต่างๆ

— สามารถทำงานได้ร่วมกับ Telegram โดยตัวแอปพลิเคชัน Telegram มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 800 ล้านคน ทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนมากได้ เป็นส่วนหนึ่งของการยอมรับในการเล่นเกมและการมีส่วนร่วมของผู้ที่ช่วยทำให้เกิดการสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวมถึงเป็นการส่งเสริมชุมชนให้มีความแข็งแกร่ง

— รองรับ Smart contract คือ ตัว Smart contract จะช่วยให้ระบบที่เกี่ยวเกมสามารถทำงานได้อัตโนมัติ เช่น การแจกจ่ายไอเทม ระบบรางวัล ระบบการกำกับดูแล รวมไปถึงการพัฒนา DApps ที่ช่วยให้นักพัฒนาสรา้งสร้างเกมแบบกระจายอำนาจที่มีคุณสมบัติไม่ซ้ำแบบใคร

— ศักยภาพในการสร้างรายด้วยโมเดล Play-to-Earn (P2E) ด้วยการทำให้ผู้เล่นเป็นเจ้าของและแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล สร้างช่องทางรายได้ใหม่ สำหรับทั้งผู้เล่นเดมและผู้พัฒนา โดยโมเดลแบบ Play-to-Earn สามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้เล่นใช้เวลากับเกมมากขึ้น มีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเกม

ตัวอย่างเกมดัง บน Telegram ประจำปี 2024

— Hamster Kombat เกมไวรัลที่เปิดตัวในรูปแบบมินิแอปบน Telegram เมื่อเดือนมีนาคม 2024 เป็นเกมแนว tapper ที่จำลองการดำเนินการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล ที่สามารถดึงดูผู้เล่นได้มากกว่า 300 ล้านคนในเวลาอันสั้น และยังสามารถรับรางวัลจาก Airdrop ได้อีกด้วย

image

— Catizen เกมบริหารจัดการเมืองแมวที่สามารถรับรางวัล Airdrop เป็นเกมที่มีผู้เล่นมากกว่า 34 ล้านคน และมีจำนวนผู้เล่นต่อวันมากกว่า 3.5 ล้านคน

image

— X Empire เกมแนว tapper ที่สามารถรับรายได้ผ่าน Airdrop เกมดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจาก Elon Musk และท้าทายผู้เล่นให้สำรวจตลาดหุ้นสมมติ เป็นเกมที่ได้รับความนิยมจากผู้เล่นมากกว่า 20 ล้านคน

image

อุปทานรวมของโทเคน TON และการกระจายเหรียญ

ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020 ถึงเดือนมิถุนายน 2022 TON ได้ใช้กลไก Initial Proof-of-Work (IPoW) หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนไปใช้ระบบ Proof-of-Stake (PoS) ทำให้อุปทานของโทเคนเริ่มต้นถูกกำหนดไว้ที่ 5,000 ล้าน TON โดยเริ่มจัดสรรออกเป็น

— จำนวน 72.5 ล้าน TON (1.45%) สำหรับทีมทำงงาน
— จำนวน 4,9275 ล้าน TON (98.55%) เป็นการขุดโทเคนล่วงหน้า

ซึ่งจำนวน 85.8% พบกว่าเป็นโทเคนที่ถูกสร้างขึ้นจากการขุดที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มคนใน TON Foundation ในภายหลังจากมาเกิดการโหวตขึ้น จำนวน 1,081 ล้าน TON จาก 171 บัญชีจะต้องถูกแช่แข็งเอาไว้เป็นระยะเวลาทั้งหมด 48 เดือน ซึ่งทำให้เห็นว่าบัญชี Genesis เหล่านี้ซึ่งขุด TON โดยตรงจากกลไก IPoW และไม่เคยเริ่มทำธุรกรรมใดๆ

กองทุน TON มองว่าการใช้ locker smart contract เพื่อให้ผู้ถือ TON สามารถล็อกโทเคนของตนได้เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งประกอบด้วยระยะเวลา 2 ปีแรก และตามด้วยระยะเวลาปล่อยโทเคนแบบต่อเนื่องอีก 3 ปี ระยะเวลาการสิ้นสุดในวันที่ 23 ตุลาคม 2023 ซึ่งในระหว่างนั้นสามารถรวบรวมโทเคนได้ประมาณ 1,033 ล้าน TON รวมถึงรางวัลประมาณ 284 ล้านรางวัล รวมแล้วประมาณ 1,317 ล้าน TON จะถูกล็อกไว้เป็นเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2025 เป็นต้นไป จะมีการเพิ่มโทเคนหมุนเวียนประมาณ 37 ล้าน TON ลงในอุปทานหมุนเวียนทุกๆ 30 วันทั้งหมด 36 ครั้ง

ทำให้ปัจจุบันมี Total Supply (จำนวนเหรียญทั้งหมดที่อยู่ในระบบ) ทั้งหมด 5,111,682,702 TON

image

ข้อมูลน่าสนใจด้านราคาของ TON

image

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Coinmarketcap เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2024 เหรียญ TON มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market cap) ที่ 13,912,332,406 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 454,729,820,257 บาท

ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ เหรียญ TON ซื้อขายกันอยู่ที่ราคาประมาณ 5.50 ดอลลาร์ 179.80 บาทต่อ 1 TON โดย TON เคยทำราคาสูงสุด (All-time high) ที่ 8.24 ดอลลาร์ หรือ 269.41 บาท ต่อ 1 TON เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2024

อ้างอิง : TON, Crypto.com, CoinMarketCap

— — — — — — — — — — — — — — — — —

คำเตือน:

- สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

- ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

— — — — — — — — — — — — — — — — —

Introducing TON: A High-Performance Blockchain for Telegram’s Web3 Ecosystem

image

TON (Toncoin) has gained significant recognition among cryptocurrency enthusiasts as a digital currency and a core component of The Open Network (TON) ecosystem. Originally developed by the team behind the Telegram messaging app, the project encountered regulatory challenges before transitioning to the Ton Foundation. This journey serves as a testament to the resilience of its system and the ever-evolving nature of its technology.

This article delves into the technology and applications of Toncoin, providing a comprehensive overview of its use cases within the blockchain world.

What is TON (Toncoin)?

Toncoin (TON) is the native token of the TON (The Open Network) blockchain. Initially developed by the Telegram team, the project faced regulatory challenges from the U.S. Securities and Exchange Commission (SEC) in 2020, forcing Telegram to distance itself from its blockchain endeavors.

Subsequently, the Ton Foundation took over the development, aiming to create a fast, cost-effective blockchain capable of supporting smart contracts.

Following the revival of the project and Telegram’s departure, developers unaffiliated with Telegram assumed control of the ton.org domain and code repository in 2021. They established the Ton Foundation to continue the project’s vision. As a result, the token was rebranded from Toncoin to The Open Network (TON), marking a new beginning.

Under the guidance of the TON Foundation, Toncoin’s testnet was successfully upgraded to a mainnet by the TON community, marking its official launch. Toncoin, the native token, initially operated on a Proof-of-Work Giver smart contracts consensus mechanism during the testnet phase, before transitioning to Proof-of-Stake (PoS), demonstrating the project’s commitment to decentralization and community involvement.

image

Picture showed the Architecture of TON — 1 masterchain, heterogeneous workchains, and homogeneous shardchains. — Source Coinmonks

The Open Network is a decentralized platform and internet protocol composed of several components, including the TON Blockchain, TON DNS, TON Storage, and TON Sites. The TON Blockchain serves as the core protocol, connecting the various infrastructure elements within the TON ecosystem.

TON aims to achieve cross-chain interoperability while maintaining a high level of security. It is designed to process millions of transactions per second (TPS) to accommodate hundreds of millions of users.

The TON Blockchain is designed to be a decentralized supercomputer or “super server” aimed at providing a wide range of products and services, fostering participation in developing a decentralized internet.

Additionally, the TON Wallet enables Telegram users to transfer cryptocurrency fee-free to other Telegram users and serves as the primary way for users to interact within the Telegram application. TON Storage, TON Proxy (a decentralized VPN service), and TON DNS, or Ton naming system, function similarly to creating domain names for connecting with other digital currencies. They offer using “.ton” as a human-readable naming scheme for smart contract accounts or nodes on the network, simplifying the process of accessing decentralized applications. Users can employ short and simple domain names instead of long strings of characters and numbers, and these domain names can also be linked to wallet addresses.

TON DApps provides a platform for developers to create and deploy dApps. The combination of the TON Virtual Machine (TVM), scalable infrastructure, and a large user base creates opportunities for innovation, such as developing dApps for DeFi, building blockchain games, and creating decentralized social media to promote user privacy and data ownership.

image

Who’s Behind Toncoin?

The Telegram Open Network (TON) was initially founded by the Durov brothers, Pavel and Nikolai, who are renowned for creating the messaging app Telegram. However, due to regulatory challenges at the time, Telegram was forced to abandon the blockchain project in 2020. Subsequently, the open-source TON project was revived and taken over by a group of independent developers who were not affiliated with Telegram. These developers initiated and drove the creation of the network, continuing and developing the original TON without direct involvement from the Durov brothers or the Telegram company.

What is TON used for?

TON tokens serve several crucial functions on the TON blockchain:

— Transaction Fees: TON is used to pay transaction fees on the TON blockchain, including cross-chain transaction fees. Network users are required to pay in TON to execute transactions, similar to how Ethereum users pay transaction fees in ETH.

— Storage and Naming Fees: TON is used to pay for data storage on the TON blockchain and for domain names within the network.

— Governance Token: Token holders can participate in governance by voting on network development proposals.

— Staking: TON holders can stake their tokens to become validators and secure the network, similar to other Proof-of-Stake networks.

How is Ton (Toncoin) related to Telegram?

One of the most interesting features of TON is its seamless integration with the Telegram application. The goal is to bring blockchain technology to millions of users, facilitating the adoption of digital currencies and decentralized services in everyday life. Examples include:

— In-app payments: Users can send and receive Toncoin directly within the Telegram application, making digital asset transactions more convenient.

— Bot payments: Telegram bots can utilize Telegram Stars (paid for with Toncoin) for various services such as subscriptions, e-commerce, and content monetization.

— Microtransactions: TON enables microtransactions, allowing users to make in-app or in-game purchases, tip content creators, buy goods, or support charitable causes.

image

Telegram Integrates Toncoin (TON) Payments Source: ton.org

How TON and Telegram Are Revolutionizing the Gaming Industry

— High-Throughput, Low-Cost Transactions: TON’s scalable architecture enables a high volume of transactions per second (TPS), making it ideal for games with a large player base and real-time interactions. Moreover, its low transaction fees facilitate in-game purchases, asset exchanges, and other player-driven activities.

— Enhanced Security and Decentralization: TON’s decentralized ledger ensures transparency and protection against tampering. Its robust security measures safeguard assets and transactions from unauthorized access.

— Leveraging Telegram’s User Base: With over 800 million users, Telegram provides a vast potential audience for TON-based games. This integration fosters a thriving gaming community and facilitates seamless communication among players.

— Smart Contract Automation: Smart contracts streamline game operations by automating tasks like item distribution, reward systems, and governance. Developers can also create decentralized applications (DApps) on TON, offering unique gaming experiences.

Play-to-Earn (P2E) Monetization: TON’s support for P2E models empowers players to own and trade digital assets, creating new revenue streams for both players and developers. This incentivizes extended gameplay and contributes to the overall growth of the gaming ecosystem.

Examples of popular games on Telegram in 2024:

— Hamster Kombat: This viral tapper game, released in March 2024, simulates cryptocurrency exchange operations. It has attracted over 300 million players and offers Airdrop rewards.

image

— Catizen: A cat city management game with Airdrop rewards, Catizen boasts over 34 million players and an average of 3.5 million daily active users.

image

— X Empire: Inspired by Elon Musk, this tapper game challenges players to navigate a fictional stock market. With over 20 million players, X Empire offers the potential for Airdrop income.

image

Supply and Token Distribution

From July 2020 to June 2022, TON utilized the Initial Proof-of-Work (IPoW) mechanism before transitioning to a Proof-of-Stake (PoS) system. This resulted in an initial total supply cap of 5 billion TON, with an initial distribution as follows:

— 72.5 million TON (1.45%) allocated to the team.
— 4.927 billion TON (98.55%) allocated for pre-mined tokens.

Subsequently, it was discovered that 85.8% of the mined tokens were associated with entities within the TON Foundation. Furthermore, 1.081 billion TON from 171 accounts were locked for a total of 48 months. This indicates that these Genesis accounts, which directly mined TON through the IPoW mechanism and never initiated any transactions, were locked.

The TON Foundation introduced a locker smart contract allowing TON holders to lock their tokens for 5 years, comprising an initial 2-year period followed by a 3-year linear release. As of October 23, 2023, approximately 1.033 billion TON, along with rewards of around 284 million, totaling 1.317 billion TON, were locked for the initial 2-year period. Starting from October 12, 2025, approximately 37 million TON will be added to the circulating supply every 30 days for a total of 36 installments.

As a result, the current total supply is 5,111,682,702 TON.

image

Interesting information about TON (Toncoin)

image

According to Coinmarketcap data on October 2, 2024, TON had a market capitalization of 13,912,332,406 USD or 454,729,820,257 THB.

At the time of writing, MNT was trading at around 5.50 USD or 179.80 THB per TON. TON reached its all-time high of 8.24 USD or 269.41 THB per TON on June 15, 2024.

Reference: TON, Crypto.com, CoinMarketCap, Medium

— — — — — — — — — — — — — — — — —

Disclaimer:

-Digital assets involve risks; investors should study information carefully and make investments according to their own risk profile.

-Past Returns do not guarantee future returns/performance.

— — — — — — — — — — — — — — — — —

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Napisa Wisuttipun | 16 พ.ย. 67 | อ่าน: 2,563
บทความล่าสุด