บทความ

ทำความรู้จัก Decentraland (MANA) ประตูสู่ Metaverse ที่ผู้ใช้สามารถซื้อที่ดิน สร้างอวตาร และร่วมกำหนดกฎของโลกใบใหม่

image

ทำความรู้จัก Decentraland (MANA)

Decentraland (MANA) เป็นแพลตฟอร์มโลกเสมือนจริงที่ทำงานบนเครือข่าย Ethereum ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้าง สัมผัส และสร้างรายได้จากการทำคอนเทนต์ในโลกเสมือนจริงนี้ ผู้ที่เข้าไปใช้งานสามารถซื้อที่ดิน เล่นเกม ทำกิจกรรม เป็นเจ้าของ NFT และมีส่วนร่วมใน Decentraland DAO

การใช้งาน Decentraland มีองค์ประกอบสำคัญ 2 อย่างคือLAND และ MANA ในส่วนของ LAND ที่อยู่ในรูปแบบของ non-fungible token (NFT) แสดงถึงความเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งของโลกเสมือนจริงบน Decentraland โดยที่มี MANA เป็นสกุลเงินดั้งเดิมเพื่อซื้อ LAND บนตลาดการซื้อขาย นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ของ Decentraland ยังมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครให้กับผู้ใช้งาน สามารถสื่อสารกับผู้ใช้คนอื่นๆ และยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เพิ่มความเพลินเพลิน รวมทั้งยังมีโครงสร้างการกำกับดูแลแบบกระจายอำนาจด้วย DAO ที่ทำให้อำนาจการตัดสินใจต่างๆ อยู่ในมือของผู้ใช้งานและผู้ที่ถือ MANA ซึ่งทำให้ Decentraland เป็นแพลตฟอร์มเสมือนจริงแห่งแรกที่ผู้ใช้สามารถควบคุมระบบนิเวศได้อย่างสมบูรณ์​​

ความเป็นมาของ Decentraland

image

Decentraland เกิดขึ้นในปี 2015 โดย Ari Meilich และ Esteban Ordano สองผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนชาวอาร์เจนตินา ตอนแรกเริ่ม โครงการนี้เป็นแค่การทดลองแนวคิดที่ว่า ผู้ใช้จะได้เป็นเจ้าของที่ดินดิจิทัลผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน ในยุคแรกของ Decentraland ที่ดินดิจิทัลนี้เป็นแค่พิกเซลบนตารางสองมิติ และแต่ละพิกเซลมีแค่ข้อมูลว่าใครเป็นเจ้าของและพิกเซลเป็นสีอะไร

ในปี 2016 เป็นช่วงการพัฒนาที่เรียกว่ายุค “Bronze Age” ทางทีมพัฒนาได้เพิ่มโลก 3 มิติเข้าไป มีการแบ่งที่ดินออกเป็นแปลงย่อยเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมที่สามารถรองรับการทำงานโดยเฉพาะกับการสร้างแอปพลิเคชัน การสร้างเนื้อหาที่สามารถตอบโต้กันได้ และยังเพิ่มเครือข่าย P2P ต่อมาในยุคของการพัฒนาถัดมาเรียกว่า “Iron age” เป็นส่วนที่ทำงานด้วยเครือข่าย Ethereum ซึ่งทำหน้าที่เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนระบบนิเวศโลกเสมือนจริง หรือที่เรียกันว่า Metaverse

จนกระทั่งในปี 2017 โครงการได้เปิดตัว Decentraland ที่พัฒนาเป็นโลกเสมือนสามมิติเต็มรูปแบบแล้ว ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกันได้ในชุมชนที่เต็มไปด้วยนักสร้างสรรค์และนักสำรวจ และสามารถปลดปล่อยจินตนาการได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าผ่านการดีไซน์เสื้อผ้า ผลงานศิลปะ หรือการสร้างและตกแต่งบนที่ดินของตัวเองได้อย่างอิสระ

ผู้สร้าง Decentraland

Decentraland เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ร่วมกันของ Ari Meilich และ Esteban Ordano ที่อยากเห็นโลกเสมือนจริงที่ทุกคนมีส่วนร่วมและไม่มีใครผูกขาดอำนาจ

image

Ari Meilich เป็นผู้ประกอบการมาอย่างยาวนาน เคยก่อตั้งบริษัทแปลภาษาออนไลน์และแพลตฟอร์มจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ Customer relationship management (CRM) นอกจากนี้ยังเคยทำงานเป็นนักวิเคราะห์ให้กับ Charles River Ventures เป็นกองทุนร่วมลงทุนชื่อดังในซิลิคอน วัลเลย์

ทางด้าน Esteban Ordano ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีต CTO ของ Decentraland ก็มีประสบการณ์หลากหลายในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เขาเคยทำงานเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ BitPay เป็นที่ปรึกษาให้ Matic Network และสร้างบริษัทของตัวเองในชื่อ Smart Contract Solutions ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนา Smart contract นอกจากนี้ Esteban Ordano ยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Zeppelin Solutions บริษัทที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีบล็อกเชน

MANA ใช้งานสำหรับอะไร?

MANA คือโทเคนแบบ ERC-20 และเป็นสกุลเงินหลักของ Decentraland โลกเสมือน (Metaverse) ระบบนี้ทำงานบนบล็อกเชน Ethereum ทำให้ผู้ใช้สามารถซื้อที่ดินดิจิทัลได้ด้วยการเผาโทเคน MANA เพื่อแลกกับ LAND ซึ่งเป็น NFT (non-fungible token) แบบ ERC-721

นอกจากนี้ โทเคน MANA สามารถใช้ซื้อของในตลาด (Marketplace) ของ Decentraland ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นอวตาร ชื่อ หรือเสื้อผ้าที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง โดย Decentraland ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ ดังนั้นผู้ถือโทเคน MANA จึงมีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดทิศทางของแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นการเสนอและโหวตเรื่องนโยบายใหม่ๆ การประมูลที่ดิน LAND หรือแม้แต่การตัดสินใจว่าควรอนุญาตให้มีเนื้อหาแบบไหนในโลกเสมือนนี้

การกระจายเหรียญ MANA

Decentraland ได้ทำการขายโทเคนเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2017 หลังจากทำยอดขายได้ครบตามเป้าหมายของโครงการและระดมทุนได้ 86,260 ETH มูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะนั้น หลังจากการขายเสร็จสิ้น โทเคน MANA จำนวน 2,810 ล้านเหรียญก็ถูกสร้างขึ้น

ผู้เข้าร่วมการขายโทเคนได้รับ 40% ของอุปทานทั้งหมด (1,120 ล้าน MANA) โดยระบบส่วนลดได้กำหนดให้ขาย 1,000 MANA ในช่วงราคา 0.024 ถึง 0.04 เหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากมีนักลงทุนรายใหญ่จำนวนไม่มาก การขายจึงเสร็จสิ้นในเวลาเพียง 35 วินาที

ทีมพัฒนา Decentraland Foundation และกองทุนสำรองของชุมชนต่างก็ได้รับ 20% ของอุปทานทั้งหมด (561.2 ล้านเหรียญ MANA) โดยการจัดสรรของผู้ก่อตั้งจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ในช่วงสามปีเกิดขึ้นปีละสองครั้ง

ภายหลังจะมีการออกโทเคนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง คือ ในปีแรก อุปทานจะเพิ่มขึ้น 8.00% และอัตรานี้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปเหลือ 6.06% ในปีที่ 5 และ 4.65% ในปีที่ 10 โดยโทเคนเพิ่มเติมเหล่านี้จะถูกขายผ่าน Smart contract ในราคาที่ Decentraland Foundation สามารถอัปเดตได้เพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับราคาตลาดของ MANA รายได้จะถูกใช้เพื่อจัดหาเงินทุนอย่างต่อเนื่องให้กับ Decentraland Foundation

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2017 การประมูล Genesis City ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Terraform Event ได้ขาย LAND จำนวน 90,000 ชิ้น ซึ่งเป็นพื้นที่แรกของแพลตฟอร์ม และอีกจำนวน 40,000 รายการถูกใช้เพื่อสร้างเขตชุมชนที่กำหนดตามข้อเสนอของผู้ใช้ โดยมีราคา 1,000 MANA ต่อ 1 LAND ซึ่งจำนวนที่เหลือจะถูกนำไปประมูลในอัตราเริ่มต้นเดียวกัน โดยกำหนดว่าแต่ละชิ้นจะต้องมีราคาสูงกว่า ชิ้นก่อนหน้า 25.00% ส่งผลให้ LAND ขายได้ในราคา 80,000 MANA

image

ที่มา : Tokeninsight

ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ MANA (Decentraland)

image

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Coinmarketcap เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2024 โทเคน MANA มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market cap) ที่ 580,132,697 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 19,889,675,043 บาท

ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ โทเคน MANA ซื้อขายกันอยู่ที่ราคาประมาณ 0.2987 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 10.24 บาท ต่อ 1 MANA โดย โทเคน MANA เคยทำราคาสูงสุด (All-time high) ที่ 5.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 202.32 บาท เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2021

อ้างอิง :
-
Decentraland
- Medium — Esteban Ordano
- Bitcoinist — From Decentraland To Openloot: How Ari Meilich Is Leaving His Mark In Crypto
- CoinMarketCap
- Tokeninsight

— — — — — — — — — — — — — — — — — —

คำเตือน:
-สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
-ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

— — — — — — — — — — — — — — — — — —

Get to Know Decentraland (MANA): The Future of Digital Ownership with Decentraland

image

Introducing Decentraland (MANA)

Decentraland (MANA) is a virtual reality platform built on the Ethereum blockchain that allows users to create, experience, and monetize content in a virtual world. Users can purchase land, play games, engage in activities, own NFTs, and participate in the Decentraland DAO.

Two key components of Decentraland are LAND and MANA. LAND, represented as a non-fungible token (NFT), signifies ownership of a virtual parcel of land within Decentraland. MANA serves as the native currency used to purchase LAND on the marketplace. Decentraland’s software offers a unique user experience, enabling users to interact with others and providing a variety of engaging features. Additionally, its decentralized governance structure, powered by the DAO, places decision-making authority in the hands of users and MANA holders, making Decentraland the first virtual platform to offer complete user control over its ecosystem.

The Origins of Decentraland

image

Decentraland began in 2015 as an experimental idea from Argentine blockchain enthusiasts Ari Meilich and Esteban Ordano. Their goal was to explore the concept of users owning virtual land on a blockchain. Initially, this land was represented as pixels on a 2D grid, with each pixel signifying ownership and a distinct color.

In 2016, Decentraland entered its “Bronze Age,” transforming into a 3D world and dividing land into smaller parcels to create more specific environments. This phase also introduced interactive applications, content creation, and a peer-to-peer network. The following “Iron Age” incorporated the Ethereum blockchain, acting as a decentralized supercomputer to power the virtual world.

By 2017, Decentraland had matured into a vibrant 3D virtual environment. Users could engage with a growing community of creators, customizing everything from digital clothing and artwork to building and decorating personal plots of land.

Who’s Behind Decentraland?

image

Decentraland emerged from the vision of Ari Meilich and Esteban Ordano, who set out to build a decentralized virtual world open to everyone.

Ari Meilich, an experienced entrepreneur, has a background in founding companies. Before Decentraland, he launched an online translation service and a CRM platform. He also worked as an analyst for Charles River Ventures, a leading venture capital firm in Silicon Valley.

Esteban Ordano, the co-founder and former CTO of Decentraland, has an extensive technology background. He previously worked as a software engineer at BitPay, consulted for Matic Network, and founded Smart Contract Solutions, a company focused on smart contract development. Ordano also co-founded Zeppelin Solutions, a firm specializing in blockchain infrastructure.

What is MANA Used For?

MANA is the native ERC-20 token of Decentraland, a virtual world powered by the Ethereum blockchain. It primarily buys LAND, unique ERC-721 NFTs representing digital real estate. Users can claim ownership of these virtual land parcels when they burn MANA tokens.

In addition to purchasing LAND, MANA can be spent on various items in the Decentraland Marketplace, including custom avatars, names, wearables, and other virtual goods. MANA holders also play a crucial role in Decentraland’s governance, using their tokens to propose and vote on platform policies, bid on land auctions, and shape the content and experiences within the virtual world.

MANA Token Distribution

image

(https://tokeninsight.com/en/coins/decentraland/tokenomics)

Initial Token Sale

Decentraland concluded its token sale on August 18, 2017, after successfully meeting its funding goal of 86,260 ETH, equivalent to approximately $25 million at the time. A total of 2.81 billion MANA tokens were created.

Participants in the token sale received 40% of the total supply (1.12 billion MANA). A tiered pricing system was implemented, selling 1,000 MANA for between $0.024 and $0.04. Due to high demand from a relatively small number of large investors, the sale concluded within 35 seconds.

Allocation to the Foundation and Community Reserve

The Decentraland Foundation and the community reserve were each allocated 20% of the total supply (561.2 million MANA). The founder’s allocation was vested over a three-year period, with vesting occurring twice a year.

Ongoing Token Releases

Subsequent token releases were planned, with an 8.00% increase in supply in the first year, gradually decreasing to 6.06% in the fifth year and 4.65% in the tenth year. These additional tokens were sold through smart contracts with prices adjusted by the Decentraland Foundation to align with market rates. The proceeds were used to fund the ongoing operations of the Decentraland Foundation.

Genesis City Auction

On December 15, 2017, the Genesis City auction, also known as the Terraform Event, sold 90,000 parcels of LAND, the platform’s initial land area. An additional 40,000 parcels were allocated to community-defined districts based on user proposals. LAND was initially priced at 1,000 MANA per parcel, with subsequent parcels auctioned at a minimum of 25% higher than the previous bid, resulting in some LAND parcels being sold for as much as 80,000 MANA.

Interesting information about MANA

image

According to Coinmarketcap data as of November 7, 2024, the MANA token has a market capitalization of USD 580,132,697 equivalent to approximately 19,889,675,043 Thai Baht.

At the time of writing, the MANA token is trading at approximately USD 0.2987, or around 10.24 Thai Baht per MANA. The all-time high for MANA was USD 5.90, or around 202.32 Thai Baht, reached on November 25, 2021.

Reference:
-
Decentraland
- Medium — Esteban Ordano
- Bitcoinist — From Decentraland To Openloot: How Ari Meilich Is Leaving His Mark In Crypto
- CoinMarketCap
- Tokeninsight

— — — — — — — — — — — — — — — — — —

Disclaimer:
-Digital assets involve risks; investors should study information carefully and make investments according to their own risk profile.
-Past Returns do not guarantee future returns/performance.

— — — — — — — — — — — — — — — — — —

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Napisa Wisuttipun | 14 พ.ย. 67 | อ่าน: 2,266
บทความล่าสุด