บทความ

รู้จัก Cortex (CTXC) บล็อกเชนที่รวมร่างกับ AI

image

ปัจจุบัน กระแสของ AI กำลังมาแรงมาก เนื่องจากความสำเร็จของ ChatGPT จนหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI คือสิ่งที่จะนำมาซึ่งยุคสมัยต่อไปของวงการเทคโนโลยี

ด้วยศักยภาพการเรียนรู้และการแก้ปัญหาที่น่าเหลือเชื่อของ AI มันจึงสามารถถูกนำไปปรับใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เทคโนโลยีบล็อกเชนเองก็เช่นกัน ซึ่งการรวมร่างกันระหว่างบล็อกเชนกับ AI ก็ได้เกิดขึ้นแล้วกับบล็อกเชนที่ชื่อว่า Cortex ในบทความนี้ Bitkub Blog จะมาสรุปเรื่องน่ารู้ของ Cortex ให้ครับ

Cortex คืออะไร?

image

Cortex คือแพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบ Open-source ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้บล็อกเชนสามารถทำงานร่วมกับ AI ผ่านโมเดลสัญญาอัจฉริยะแบบพิเศษได้ นักพัฒนาจึงสามารถสร้างแอปพลิเคชันหรือบริการที่ใช้ AI ได้บนระบบแบบกระจายอำนาจ

สถาปัตยกรรมของ Cortex ช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งโมเดล AI ซึ่งจะได้รับการตรวจสอบ จัดเก็บ และทำให้สามารถเข้าถึงได้ผ่านแพลตฟอร์ม วิธีนี้ทำให้ AI มีความเป็นประชาธิปไตย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้เป็นวงกว้างขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถรับประกันความโปร่งใสและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้

จุดเด่นของ Cortex

1.ระบบ AI แบบกระจายอำนาจ: จุดเด่นที่สุดของ Cortex อยู่ที่ความสามารถในการรองรับเทคโนโลยี AI ในรูปแบบของการกระจายอำนาจผ่านการประสาน AI เข้ากับบล็อกเชน ซึ่งทำให้ Cortex สามารถตัดตัวกลางและลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการควบคุมข้อมูลที่ AI ใช้ประมวลผลได้ ทำให้ระบบ AI มีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือมากขึ้น

2.เข้าถึงเทคโนโลยี AI ได้ง่ายขึ้น: Cortex มีเป้าหมายเพื่อให้ทุกคนเข้าถึง AI ได้ง่ายขึ้น โดยขจัดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ต้นทุนการประมวลผลที่สูงและทรัพยากรที่จำกัด ด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบกระจายอำเชนของบล็อกเชน ทำให้นักพัฒนา นักวิจัย และองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จาก AI ได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงเกินไป

3.การทำงานร่วมกันที่ปลอดภัย: Cortex สามารถมอบสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับนักพัฒนาโมเดล AI เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างรายได้จากผลงานที่พวกเขาสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกัน แพลตฟอร์มยังสนับสนุนการทำงานร่วมกันโดยเปิดให้นักพัฒนาสามารถแชร์โมเดลของตนและรับรางวัลสำหรับการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมต่อไป

เหรียญ CTXC

แพลตฟอร์ม Cortex มีเหรียญประจำเครือข่ายนั่นคือ CTXC ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในระบบนิเวศของ Cortex ดังต่อไปนี้

1.เป็นค่าธรรมเนียมในการส่งและดำเนินการโมเดล AI บนแพลตฟอร์ม
2.เป็นค่าธรรมเนียมในการเรียกใช้งานโมเดล AI
3.เป็นรางวัลตอบแทนสำหรับผู้ตรวจสอบ (Validator) ที่ร่วมตรวจสอบความถูกต้องของโมเดล AI และธุรกรรมบน Cortex

CTXC ถูกเสนอขายครั้งแรกผ่านการทำ ICO เมื่อปี 2018 โดยถูกสร้างออกมาให้มีจำนวนจำกัดที่ 299,792,458 CTXC ซึ่งหมายความว่าจำนวนเหรียญ CTXC จะไม่มีมากไปกว่านี้แล้วในอนาคต

ผู้สร้าง Cortex

Cortex ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมงานมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้าน AI เทคโนโลยีบล็อกเชน และวิทยาการคอมพิวเตอร์ นำโดยมี Dr. Ziqi Chen ซีอีโอของ Cortex Labs ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ที่มีประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับ Deep learning และ Natural language processing ตามมาด้วย Dr. Weiyang Wang ซีทีโอของ Cortex Labs ที่เชี่ยวชาญด้านระบบกระจายอำนาจและเทคโนโลยีบล็อกเชน พร้อมกับทีมที่มีทั้งเหล่านักนักวิจัย วิศวกร และผู้ที่ชื่นชอบบล็อกเชนที่มาร่วมมือกันทุ่มเทให้วิสัยทัศน์ของ Cortex เป็นจริง

สรุป

Cortex คือการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี AI และบล็อกเชน จึงเป็นแพลตฟอร์มแบบกระจายอำนาจสำหรับการพัฒนาและปรับใช้โมเดล AI ด้วยการรวมจุดแข็งของเทคโนโลยีทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายที่จะปลดล็อกศักยภาพของ AI ในขณะที่ยังคงความโปร่งใส ความปลอดภัย และราคาที่จ่ายได้ของบล็อกเชน Cortex จึงเป็นอีกบล็อกเชนที่น่าสนใจมากเมื่อพิจารณาจากกระแส AI ในปัจจุบัน

อ้างอิง Cortex Labs, Coinmarketcap
_________________________________________

บทความ Bitkub Blog ที่คุณอาจสนใจ
AI กับ Blockchain จะทำงานร่วมกันได้อย่างไร?
Smart Contract คืออะไร?
Blockchain คืออะไร เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกหรือเปล่า?

_________________________________________

มาเรียนรู้เรื่อง บิตคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrency ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกของคริปโทฯ ได้ดีขึ้น ที่ Bitkub Blog

หากคุณยังเป็นมือใหม่ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ “แหล่งความรู้ มือใหม่หัดเทรดคริปโต เริ่มต้นที่นี่

*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต”

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Waranyu Suknantee | 17 ก.ค. 66 | อ่าน: 7,658
บทความล่าสุด