บทความ

รู้จัก Cosmos (ATOM) กับบทบาทสำคัญ Internet of Blockchains

image

Cosmos เป็นอีกหนึ่งเครือข่ายที่สร้างความน่าสนใจด้วยการประกาศตัวเองว่าเป็น The Internet of Blockchains ซึ่งหมายถึงการทำตัวเป็นอินเทอร์เนตด้วยการช่วยแก้ปัญหาที่อุตสาหกรรมบล็อกเชนกำลังเผชิญอยู่ และทำหน้าที่เชื่อมโยงบล็อกเชนต่าง ๆ ให้ถึงกัน เราลองมารู้จัก Cosmos และ ATOM ให้มากขึ้นกันเลยดีกว่า

image

ทำความรู้จัก Cosmos และ ATOM

Cosmos หรือ Cosmos Network เป็นเครือข่ายแบบ Decentralized Network ของบล็อกเชนคู่ขนานอิสระ แต่ละเครือข่ายขับเคลื่อนโดยอัลกอริธึมฉันทามติแบบ Byzantine Fault Tolerant (BFT) เช่นเดียวกับระบบฉันทามติของ Tendermint และถูกรันด้วยระบบฉันทามติแบบ Proof-of-Stake (PoS) ประกอบด้วยบล็อกเชนหลายรูปแบบในระบบ และขับเคลื่อนโดยเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีที่ชื่อว่า ATOM

image

เครือข่าย Cosmos ขึ้นชื่อว่าเป็นตัวที่จะเข้ามาแก้ปัญหาที่บล็อกเชนแบบเก่าอย่าง Proof-Of-Work ที่บิตคอยน์กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหา เช่น ความล่าช้า ค่าธรรมเนียมสูง หรือการปรับขนาด (Scalability) ในการรองรับธุรกรรมจำนวนมาก ฯลฯ Cosmos จึงสร้างบทบาทที่สำคัญกำหนดให้ตัวเองเป็น “อินเทอร์เนตของบล็อกเชน” มีหน้าที่เชื่อมโยงกันระหว่างบล็อกเชนหลากหลายรูปแบบอย่างปลอดภัย

หน้าที่และการทำงานร่วมกันในระบบนิเวศ

image

เมื่อมองเข้าไปในระบบนิเวศของ Cosmos จะมีโซนแรกที่เรียกว่า Cosmos Hub ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำงานของบล็อกเชนที่แตกต่างกันสามารถเชื่อมโยงกันได้ด้วยโปรโตคอลที่ชื่อว่า Inter-Blockchain Communication (IBC) โดยมี ATOM เป็นโทเคนตัวสำคัญที่ทำหน้าที่ทั้ง Native Token และ Utility Token ช่วยรักษาความสามารถของการทำงานร่วมกันระหว่างทุกโซน มีความสามารถขยายขนาดได้มากขึ้น ใช้สำหรับการถือครอง การใช้จ่าย การรับส่ง และ การ Staking ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม

ในแต่ละโซนจะมีบล็อกเชนอิสระทั้งหมดที่สร้างขึ้นภายในเครือข่ายและสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ อย่างเช่นการเป็น Validators คอยตรวจสอบบัญชีและธุรกรรม การสร้างและแจกจ่ายโทเคนใหม่ และ Delegators ที่ทำหน้าที่เลือกตัวแทนที่ตนเองอยากสนับสนุน

ผู้ก่อตั้ง Cosmos (ATOM)

image

Jae Kwon เป็นสถาปนิกซอฟต์แวร์บล็อกเชนและผู้ร่วมก่อตั้ง Tendermint และเป็นประธาน Interchain Foundation เขาเคยกล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของ Cosmos คือการให้อำนาจแก่ผู้คนในการสร้างชุมชนที่กระจายอำนาจทางดิจิทัลของตัวเอง โดยอิงจากบล็อกเชนของคุณเอง”

Ethan Buchman เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Tendermint และ Cosmos เช่นกัน เขาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการด้านเทคนิคของ Interchain Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีภารกิจหลักในการค้นคว้า พัฒนา และส่งเสริมเครือข่ายแบบเปิดที่มีการกระจายอำนาจ

Jae Kwon และ Ethan Buchman ร่วมก่อตั้งเครือข่าย Cosmos ในปี 2014 ในขณะที่เขากำลังพัฒนา Tendermint ด้วยซึ่งเป็นอัลกอริธึมฉันทามติที่จะขับเคลื่อน Cosmos ทั้ง Kwon และ Buchman ได้เขียน Whitepaper ของ Cosmos ร่วมกันในภายหลัง และปล่อยซอฟต์แวร์เครือข่ายดังกล่าวให้ทดลองใช้ในปี 2019

ข้อมูลเหรียญ Cosmos (ATOM)

จากเว็บไซต์ Coinmarketcap ในขณะที่เขียน (20 กันยายน 2565) พบว่า 1 ATOM มีมูลค่าอยู่ที่ 15.51 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 570.24 บาท มีอุปทานรวมหมุนเวียนอยู่ในระบบประมาณ 286,370,297.00 ATOM และมีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 4,419,940,387 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 163,363,972,122 บาท สำหรับการกระจายโทเค็นนั้น ได้ถูกจัดสรรให้กับนักลงทุนไว้ประมาณ 80% และที่เหลือถูกแบ่งให้กับบริษัท 2 แห่ง นั่นคือ All In Bits และ Interchain Foundation

สรุป

-ความเป็น Internet of Blockchains ของ Cosmos จะทำให้สามารถสื่อสารกันได้ในรูปแบบการกระจายอำนาจ สามารถรักษาอำนาจการออกเสียง มีการประมวลผลธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว และสื่อสารกับบล็อกเชนอื่นๆ ในระบบนิเวศได้สะดวก เหมาะสมสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย

-แม้ว่า Cosmos Hub จะเป็นบัญชีแยกประเภทที่มีหลายสินทรัพย์ก็ตาม แต่โทเคนพิเศษที่เรียกว่า ATOM ก็เป็นเพียงตัวเดียวของ Cosmos Hub ที่ได้รับอนุญาตในการลงคะแนน ตรวจสอบ หรือมอบหมายให้ผู้ตรวจสอบคนอื่นๆ เช่นเดียวกับ Ether ของ Ethereum เลยก็ว่าได้

-ผู้พัฒนายังมุ่งหวังว่า Cosmos จะถูกพัฒนาเป็น “บล็อกเชน 3.0” ด้วยการทำให้โครงสร้างพื้นฐานใช้งานง่าย เน้นที่ความเป็นโมดูลเป็นสำคัญ จากเครือข่ายโดยใช้โค้ดที่มีอยู่แล้วและการวางระบบแอปพลิเคชันที่ซับซ้อนนี้น่าจะสร้างผลลัพธ์ได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง: Cosmos Whitepaper, Coinmarketcap, Kraken, Coinman, Golden

— — — — — — — — — —

อ่านบทความ ข่าวสาร และความรู้ที่น่าสนใจในวงการคริปโตอีกมากมายได้ที่ Bitkub Blog

ติดตามข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจจาก Bitkub Exchange ได้ที่
Facebook: www.facebook.com/bitkubofficial

คำเตือน:

- คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

- สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

- ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

— — — — — — — — — —

Discover Cosmos (ATOM) and its significant role in “The Internet of Blockchains”.

Cosmos has made an interesting statement with its self-proclaimed “The Internet of Blockchains” to serve and connect different blockchains to each other. Let’s get to know ATOM and Cosmos better with us.

image

Get to know Cosmos and ATOM

Cosmos Network is a decentralized network of parallel blockchains. The Cosmos network, which is powered by the Byzantine Fault Tolerant (BFT) consensus algorithm, is systematically run as Proof-of-Stake (PoS) and consists of several blockchains in the system, driven by a cryptocurrency called ATOM.

image

The Cosmos network is renowned for resolving the long-standing Proof-Of-Work blockchain issue that Bitcoin faces and which is unavoidable with issues like delays, costly gas fees, and scalability throughout supporting a high volume of transactions, etc. As the “Internet of Blockchains,” Cosmos thus assumes a significant role in ensuring the safe connection of various blockchains to exchange information with other blockchains, it makes use of the Inter-Blockchain Communication (IBC) protocol.

Collaboration in the ecosystem

image

Once looking at the Cosmos ecosystem, the first zone, called the Cosmos Hub, facilitates various blockchain operations to be linked by a protocol called Inter-Blockchain Communication (IBC), and ATOM are essential tokens, works as Native token and Utility Token, to maintain interoperability between all zones, with more scalability to utilize for holding, spending, sending, and staking to verify transaction validity.

Each zone contains independent blockchains that are built within the network and can perform their own functions. They are validators to check the validity, creating and distributing new tokens along with delegators who choose which one to support.

Founders of Cosmos (ATOM)

image

Jae Kwon is a blockchain software architect and co-founder of Tendermint, and the president of the Interchain Foundation. “The vision of Cosmos is to empower people to create their own digital decentralized communities based on your own blockchain,” says Kwon.

Ethan Buchman is the co-founder of Tendermint and Cosmos projects. He serves as a technical director of the Interchain Foundation, which is a non-profit organization with a core mission to research, develop, and promote open, decentralized networks.

Jae Kwon and Ethan Buchman co-founded the Cosmos network in 2014, while also developing Tendermint, the consensus algorithm that would power Cosmos. Kwon and Buchman later wrote the Cosmos white paper, and the software was released in 2019.

Cosmos (ATOM) Information

According to the Coinmarketcap website, 1 ATOM is worth $15.51 USD (approximately 570.24 baht) at the time of writing this article (September 20, 2022). The circulating supply is approximately 286,370,297.00 ATOM, and the token distribution has a total market value of 4,419,940,387 USD or approximately 163,363,972,122 baht. Approximately 80% goes to investors, with the remainder going to 2 companies, All In Bits and the Interchain Foundation.

Summary

-The Internet of Blockchains is a network of decentralized blockchains that can communicate with each other. Blockchains can use Cosmos to maintain sovereignty, process transactions quickly, and communicate with other blockchains in the ecosystem, making it suitable for a variety of use cases.

-While the Cosmos Hub is a multi-asset distributed ledger, there is a special native token called the ATOM which is the only staking token of the Cosmos Hub. ATOMs are a license for the holder to vote, validate, or delegate to other validators like Ethereum’s ether.

-The developers also believe that Cosmos will be developed as “Blockchain 3.0,” with an emphasis on modularity. Implementing existing code and deploying this complex application should produce positive results.

References: Cosmos Whitepaper, Coinmarketcap, Kraken, Coinman, Golden

— — — — — — — — — —

Find more articles, news, and interesting knowledge about the crypto market on our Bitkub Blog

Follow Bitkub for news updates and interesting activities on www.facebook.com/bitkubofficial

Disclaimer:

- Cryptocurrency and digital token involve high risks; investors may lose all investment money and should study information carefully and make investments according to own risk profile.

- Digital assets involve risks; investors should study information carefully and make investments according to own risk profile.

- Returns/Past Performance does not guarantee future returns/performance.

— — — — — — — — — —

ผู้เขียน: Preeyapa Taweewikyagan | 29 ก.ย. 65 | อ่าน: 9366
บทความล่าสุด