บทความ
ประโยชน์ของ Smart Contract กับเศรษฐกิจปัจจุบัน
ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจในเทคโนโลยีบล็อกเชน คุณต้องเคยได้ยินเกี่ยวกับ Smart Contract หรือ “สัญญาอัจฉริยะ” มาไม่มากก็น้อย
แล้วสงสัยหรือไม่? ว่าแท้จริงแล้ว Smart Contract มีบทบาทเช่นไรกับเทคโนโลยีบล็อกเชนหรือคริปโทเคอร์เรนซี ในบทความนี้ เราจะมาไขข้อสงสัย พร้อมยกตัวอย่างการใช้งาน Smart Contract กันให้กระจ่าง
Smart Contract คืออะไร?
Smart Contract เปรียบเสมือนกับชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อเงื่อนไขครบตามที่ถูกเขียนขึ้นมา เช่น กำหนดว่า เมื่อ A โอนเงินให้ B ครบ สิทธิ์ความเป็นเจ้าของรถยนต์ของ B จะถูกโอนให้ A ทันที เป็นต้น
การใช้ Smart Contract จึงสามารถลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ลดความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ลดต้นทุน และทำให้ทุกฝ่ายมั่นใจได้ว่าการดำเนินการจะเป็นไปที่ตกลง
ขณะที่ บล็อกเชนคือเทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ที่มีชื่อเสียงด้านความปลอดภัย โปร่งใส และตรวจสอบได้ การประสาน Smart Contract เข้ากับบล็อกเชนจึงเป็นการยกระดับบล็อกเชนให้เป็นมากกว่าเทคโนโลยีที่ใช้บันทึกการทำธุรกรรม
เครือข่ายบล็อกเชนที่เป็นต้นแบบของการใช้ Smart Contract ก็คือ Ethereum ที่เปิดกว้างให้เหล่าโปรแกรมเมอร์สามารถเข้ามาเขียน Smart Contract เพื่อสร้างแอปพลิเคชันต่าง ๆ ขึ้นบล็อกเชน นอกจากนี้ Ethereum ยังเป็นต้นแบบให้กับบล็อกเชนรุ่นใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Cardano, Polkadot, รวมถึง Bitkub Chain เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้ Smart Contract
เมื่อเข้าใจภาพรวมของ Smart Contract ไปแล้ว ต่อไปเรามาดูตัวอย่างของการใช้ Smart Contract ร่วมกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1.สร้างโทเคนดิจิทัล
หากไม่มี Smart Contract โทเคนดิจิทัล (Digital Token) ที่ได้รับความนิยมในวงการคริปโต ไม่ว่าจะเป็น USDT, USDC, DAI, UNI รวมถึง NFT (Non-fungible Token) ก็คงไม่เกิดขึ้น เนื่องจาก Smart Contract มีบทบาทสำคัญในการควบคุมส่วนประกอบต่าง ๆ ของโทเคนตั้งแต่ ประโยชน์การใช้งาน สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ไปจนถึงการกำหนดจำนวนโทเคน
2.สร้างบริการทางการเงิน
บริการทางการเงินที่อยู่บนบล็อกเชน หรือ DeFi (Decentralized Finance) คืออีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เกิดจากการใช้ Smart Contract ร่วมกับบล็อกเชน เพื่อนำบริการทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การฝากเงิน การแลกเปลี่ยน การกู้ยืม หรือการประกัน ขึ้นมาอยู่บนเครือข่ายบล็อกเชน ให้ผู้ใช้ทั่วโลกสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เช่น Alpha Finance, Uniswap, Maker Protocol เป็นต้น
3.ใช้ร่วมกับการแพทย์
ประโยชน์ของบล็อกเชนและ Smart Contract ไม่ได้จำกัดแค่เรื่องของคริปโตหรือการเงินเท่านั้น โรงพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขก็สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ได้เช่นกัน โดยอาจใช้บล็อกเชนเพื่อเก็บรักษาข้อมูลของผู้ป่วย และใช้ Smart Contract ในการป้องกันข้อมูลที่อาจเป็นความลับ เช่น ผลการวิจัยยา ผลการรักษา ฯลฯ และแชร์ข้อมูลดังกล่าวออกไปแก่องค์กรภายนอกได้โดยข้อมูลไม่รั่วไหล เป็นต้น
4.สร้างเกมบนบล็อกเชน
จะเป็นอย่างไรถ้า Smart Contract สามารถนำมาใช้กับเรื่องสนุก ๆ อย่าง “เกม” ก็ได้เช่นกัน ตัวอย่างเกมบนบล็อกเชนที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Axie Infinity และ CryptoKitties โดยจะเป็นเกมแนวสะสมที่ผู้เล่นสามารถนำตัวละครในเกมที่เป็นสินทรัพย์รูปแบบ NFT มาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ด้วยเงินจริง ๆ โดยอาจใช้เหรียญของเครือข่าย เช่น Ether เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เมื่อขายได้แล้วจึงค่อยนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ที่ Exchange
สรุป
Smart Contract เปรียบเสมือนชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองตามเงื่อนไขที่ถูกเขียนขึ้นมา เมื่อนำ Smart Contract มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ขึ้นชื่อเรื่องความปลอดภัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ จึงเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ไม่ได้มีประโยชน์แค่เรื่องของการเงิน แต่สามารถใช้ร่วมกับวงการบันเทิง ไปจนถึงวงการแพทย์ ก็ได้เช่นกัน
อ้างอิง 101blockchains, Chainlink, Entrepreneur
เป็นเจ้าของเหรียญ Ethereum และเครือข่ายที่ใช้ Smart Contract อย่าง Cardano, Polkadot หรือ Bitkub Coin ด้วยเงินบาทได้แล้ววันนี้ที่ Bitkub ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย
มีสินทรัพย์ดิจิทัลให้เลือกซื้อขายมากกว่า 44 รายการ พร้อมทีมซัพพอร์ตคอยให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ที่ https://www.bitkub.com/ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Bitkub บน App Store และ Google Play เปิดรับสมาชิกใหม่แล้ววันนี้!
ที่มา:
Medium