บทความ

ทำความรู้จัก RSI อีกหนึ่งตัวชี้วัดที่อ่านง่ายบนกราฟคริปโทฯ

image

การวิเคราะห์ด้วยตัวชี้วัด RSI จะช่วยส่งสัญญาณบ่งชี้หากตลาดมีการเข้าซื้อหรือเทขายมาก สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่เคยได้ทดลองใช้ตัวชี้วัดประเภทนี้ เรามาทำความรู้จักกันและเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันเลย

ทำความรู้จัก RSI

RSI (Relative Strength Index) คือ ตัวชี้วัดความแข็งแรงของตลาดในแต่ละช่วงเวลา โดยใช้เปรียบเทียบระหว่างการเพิ่มของราคาและการลดลงของราคา ซึ่งจะมีค่าระหว่าง 0–100 จะใช้เป็นตัวช่วยในการเปรียบเทียบความแข็งแรงของตลาดในแต่ละช่วงเวลา และในการหาการเข้าซื้อหรือการขายในตลาดนั่นเอง

ตัวชี้วัด RSI นี้จึงจัดอยู่ในประเภท Momentum Oscillator ใช้เพื่อวัดการแกว่งตัวของราคาเพื่อดูว่าราคากำลังอยู่ในภาวะระหว่าง Overbought หรือ Oversold หรือไม่ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์บางคนอาจไม่ใช้ระดับ 70 กับ 30 เป็นตัวชี้วัด ซึ่ง RSI ก็สามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับเหรียญนั้น ๆ และปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นด้วย

การส่งสัญญาณ Overbought และ Oversold

Overbought (ซื้อมากเกิน) หาก RSI อยู่สูงกว่า 70 จุดก็จะเป็นภาวะ Overbought สะท้อนให้เห็นว่าเหรียญมีการเข้าซื้อเป็ยจำนวนมากส่งผลให้ราคาพุ่งไปสูงมาก

Oversold (ขายมากเกิน) หากเส้น RSI กำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 30 จุดเป็นการสะท้อนว่าตลาดกำลังอยู่ภาวะ Oversold สะท้อนให้เห็นว่ามีแรงเทขายจำนวนมากจนราคาเริ่มถูกลง

สัญญาณเหล่านี้จะเป็นตัวเตือนว่าราคาอาจเกิดการปรับฐานจากภาวะดังกล่าวในอีกไม่นาน เช่น หากราคาปรับตัวสูงขึ้นและ RSI เป็นภาวะ Overbought ราคาก็อาจมีโอกาสที่จะย่อตัวลงมาเพื่อปรับฐาน เป็นต้น ดังนั้นกลยุทธ์ที่นิยมใช้กันเมื่อพิจารณาจาก RSI คือ หากเป็น Overbought ให้ขาย และหากเป็น Oversold ก็เป็นช่วงที่ดีของการเข้าซื้อเพราะราคาเหรียญกำลังถูกนั่นเอง

image

ส่วนในเรื่องของจุดกลับตัวนั้น สัญญาณ Overbought หรือ Oversold อาจไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าจะมีการกลับตัวของราคาเมื่อไหร่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนส่วนใหญ่จึงแนะนำให้นักลงทุนใช้สัญญาณ Divergences ประกอบการวิเคราะห์ด้วย โดยสัญญาณนี้จะมี 2 ลักษณะ คือ

1.Bullish Divergence คือการที่การเคลื่อนที่ของราคาในกราฟขัดแย้ง กับ การเคลื่อนที่ของ RSI บ่งบอกถึงโอกาสในการกลับตัวของราคา “ขึ้น” โดยจะเกิดในแนวโน้มขาลง

2.Bearish Divergence คือการที่การเคลื่อนที่ของราคาในกราฟขัดแย้ง กับ การเคลื่อนที่ของ RSI บ่งบอกถึงโอกาสในการกลับตัวของราคา “ลง” โดยจะเกิดในแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งจะบอกสัญญาณตรงกันข้ามกับ Bullish Divergence

ตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ตัวชี้วัดแต่ละตัวจะมีสูตรในการคิดคำนวณที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางตัวอาจคำนวณจากราคาต่ำ-สูง บางตัวคำนวณจากปริมาณการซื้อขาย หรือบางตัวก็ใช้มากกว่า 2 ปัจจัยผสมผสานกัน เพื่อประเมินทิศทางราคาจะเรียกว่าการวิเคราะห์จากปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) ขณะที่การวิเคราะห์ทิศทางราคาจากข่าวสารจะเรียกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ยกตัวอย่างเช่น

Moving Average (MA)
เป็นเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนไหว นักเทรดมักจะใช้ดูในขั้นตอนแรก ๆ ของการวิเคราะห์

Moving Average Convergence Divergence (MACD)
เอาไว้เปรียบเทียบการเคลื่อนไหวระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยแบบ EMA 2 เส้น วิเคราะห์ได้ทั้งราคาและแรงแกว่งตัวของราคา

Ichimoku Cloud
ตัวบ่งชี้ทิศทางราคาในพื้นที่รูปก้อนเมฆ

Bollinger Bands
สามารถบ่งชี้ถึงความผันผวนของราคา ความผันผวน และกรอบการเคลื่อนไหว

Commodity Channel Index
สามารถสะท้อนได้ว่าราคาปัจจุบันอยู่สูงหรือต่ำกว่าราคาเฉลี่ย

Average True Range
ตัวชี้วัดที่สะท้อนความผันผวนของราคาได้

Pivot Points Standard
บอกแนวรับแนวต้านที่น่าจับตาของราคาในแต่ละช่วงได้

ข้อควรระวังในการใช้ตัวชี้วัดที่ได้กล่าวไปในข้างต้นคือ ควรใช้ RSI ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้วย RSI เพียงตัวเดียวไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้แบบเดี่ยวในการตัดสินใจซื้อขายได้ และควรสังเกตให้แน่ใจและอ่านกราฟอย่างถี่ถ้วนว่ามีสัญญาณแนวโน้มขาขึ้นชัดเจนจึงเข้าซื้อขายตาม RSI อีกทั้งการศึกษาข้อมูลและปัจจัยที่มีผลต่อตลาดจะช่วยให้การวิเคราะห์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ศึกษารายละเอียดของตัวชี้วัดต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.bitkub.com/th/blog/indicator-8eefc6fd5a53

อ้างอิง: Bitkub Blog, Bitkub Academy

_________________________________________

คำเตือน:
-
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
-สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
-ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

_________________________________________

การเรียนรู้เรื่อง บิตคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrency จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกของคริปโทฯ ได้ดียิ่งขึ้น ที่ Bitkub Blog เรามีบทความสำหรับนักลงทุนที่สนใจ สำหรับมือใหม่ สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ “แหล่งความรู้ มือใหม่หัดเทรดคริปโต

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม:

-Indicator ดูเป็น ไม่เสี่ยงดอย Vol.1
-Indicator ดูเป็น ไม่เสี่ยงดอย Vol.2
-เลือกเหรียญที่ใช่ด้วย Fundamental Indicator

ผู้เขียน: Preeyapa Taweewikyagan | 09 มี.ค. 66 | อ่าน: 7507
บทความล่าสุด