บทความ

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร?

image

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมนักลงทุนหลายคนถึงมีวิธีวิเคราะห์กราฟเชิงลึก และเขามีกลยุทธ์การอ่านเกมอย่างไร ถึงได้มีแบบแผนในการลงทุน?

วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไปพร้อมกัน!

Fundamental analysis

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือ FA (Fundamental Analysis) คือ แนวทางการลงทุนที่ใช้การวิเคราะห์ ตรวจสอบปัจจัยต่าง ๆ ด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของธุรกิจหรือองค์กรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะหามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของสินทรัพย์นั้น

เมื่อระบุมูลค่าที่แท้จริงได้แล้ว นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะนำมูลค่านั้นไปเปรียบเทียบกับราคาปัจจุบัน เพื่อพิจารณาว่ามูลค่าปัจจุบันสูงหรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และสมเหตุสมผลหรือไม่ โดยไม่ว่าราคาจะอยู่ในเกณฑ์ไหน นักวิเคราะห์ประเภทนี้จะเชื่อมั่นว่าราคาของสินทรัพย์จะต้องกลับคืนสู่มูลค่าที่แท้จริงอย่างแน่นอน

ดังนั้น กลยุทธ์วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน จึงเป็นวิธีแสวงผลประโยชน์จากมูลค่าของสินทรัพย์ในตลาดที่ต่ำเกินจริง และมีโอกาสทำกำไรสูงในระยะกลางหรือยาว

วิธีวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เป็นแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้เกือบทุกตลาด เนื่องจากความสามารถในการหามูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ มีประโยชน์ต่อการการตัดสินใจลงทุนเป็นอย่างมาก

การวิเคราะห์พื้นฐานครอบคลุมความรู้หลากหลายสาขา เช่น งบการเงินของบริษัท ดัชนี้ชี้วัดต่าง ๆ สถาบันทางการเงิน เศรษฐกิจโลก และอื่น ๆ ซึ่งความรู้ทั้งหมดนี้จะถูกใช้ในการพิจารณาปัจจัยพื้นฐาน

อย่างไรก็ตาม เครื่องมือและความรู้ดังกล่าว ไม่สามารถใช้งานได้กับสินทรัพย์ทุกประเภท ดังนั้น นักวิเคราะห์อาจต้องใช้ปัจจัยและตัวแปรที่แตกต่างกันออกไป

ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนในตราสารทุนอาจใช้งบดุลบริษัท ราคาหุ้น อัตราส่วน P/E และตัวแปรอื่น ๆ สำหรับการวิเคราะห์ ในขณะที่นักลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยน จะใช้ข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยพวกเขาอาจติดตามข่าวสารเกี่ยวกับธนาคารกลาง เพื่อวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ

ปัจจัยพื้นฐานในตลาดคริปโต

ตลาดคริปโต หรือ Cryptocurrency ถือเป็นอีกตลาดที่มีปัจจัย เครื่องมือและข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่แตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น

สัดส่วน Network value-to-transaction (NVT)

Network value-to-transaction (NVT) คือการประเมินมูลค่าของเครือข่าย ว่าสูงหรือต่ำกว่ามูลค่าจริง หาได้จากสัดส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าสุทธิของเครือข่ายบล็อกเชน (Marketcap) กับจำนวนธุรกรรมที่ถูกจัดเก็บในบล็อกเชน (On-chain Transaction) ต่อวัน หรือการใช้งานต่อหนึ่งวันนั่นเอง โดยมีวิธีคิดดังนี้

NVT= Network Value (มูลค่าสุทธิของเครือข่าย) / Daily Transaction Volume (ปริมาณธุรกรรมต่อวัน)

สำหรับการเปรียบเทียบ NVT เมื่อคิดเป็นตัวเลขออกมาแล้ว หากอัตราส่วนของเครือข่ายเหรียญไหนมากกว่า ก็อาจจะตีความได้ว่าเหรียญนั้นมีราคาสูงเกินจริง

ยกตัวอย่างเช่น ถ้า Market Cap ของเหรียญ A และเหรียญ B เท่ากันที่ 10,000 บาท แต่ NVT ของเหรียญ A คิดออกมาได้ 50 แต่ NVT ของเหรียญ B อยู่ที่ 150

โดยทั่วไป เหรียญที่มี NVT น้อยกว่า จะถูกพิจารณาว่ามีราคาต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง ในทางตรงกันข้าม เหรียญที่มี NVT สูงกว่า จะถูกพิจารณาว่ามีมูลค่าสูงเกินจริง ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เครือข่ายของเหรียญ A ที่มี NVT น้อยกว่า อาจจะมีมูลค่าที่ต่ำเกินจริง ขณะที่เหรียญ B อาจมีมูลค่าสูงเกินจริง

Daily active addresses/ users (DAA)

Daily active addresses คือข้อมูลที่บ่งชี้จำนวนบัญชีผู้ใช้งานเครือข่ายของเหรียญนั้น ๆ ภายในระยะเวลาหนึ่งวัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์กับการใช้ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น NVT ที่กล่าวมา

Price-to-mining-breakeven ratio

อัตราส่วน Price-to-mining-breakeven คืออัตราส่วนที่บ่งบอกความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อขุดเหรียญที่ใช้ระบบฉันทมติ (Consensus Algorithm) แบบ Proof of Work โดยเป็นการคำนวณจากราคาเหรียญในตลาด เทียบกับต้นทุนในการขุด ซึ่งประกอบไปด้วยค่าไฟและต้นทุนของฮาร์ดแวร์ โดยมีวิธีสูตรคำนวณดังนี้

Price-to-mining-breakeven = ราคาเหรียญในตลาด / ต้นทุนในการขุดเหรียญหนึ่งเหรียญ

ถ้าคำนวณแล้วอัตราส่วน Price-to-mining-breakeven มากกว่า 1 หมายความว่าการลงทุนขุดเหรียญนั้นจะได้กำไร ทำให้ผู้คนหันเข้ามาขุดมากขึ้น ราคาของเหรียญนั้นจึงมีโอกาสเติบโต

ข้อมูลพื้นฐานจากผู้สร้าง

ถึงแม้จะมีการใช้ข้อมูลทางเทคนิคและคณิตศาสตร์ นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก็มักจะศึกษาข้อมูลจาก Whitepaper ที่ผู้สร้างเหรียญหรือเครือข่ายได้เขียนรายละเอียดต่าง ๆ เอาไว้ รวมถึง Roadmap เพื่อทำความเข้าใจเป้าหมาย การใช้งาน เทคโนโลยี รวมไปถึงความเป็นไปได้ของเหรียญนั้น ๆ

ข้อดี

เนื่องจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางเศรษฐกิจในภาพใหญ่ จึงสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิค นอกจากนี้ ข้อมูลพื้นฐานส่วนใหญ่ก็สามารถค้นหาได้จากอินเตอร์เน็ต เช่น ประวัติความเป็นมา ข่าวสาร หรือ ผลประกอบการ เป็นต้น

นอกจากนี้ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว นักลงทุนชื่อดังระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Warren Buffet หรือ Peter Lynch จึงใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานประกอบการตัดสินใจลงทุน

ข้อเสีย

ถึงแม้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะเป็นกลยุทธ์ที่ทำได้ง่าย นักวิเคราะห์สายปัจจัยพื้นฐานที่มีความสามารถมากกลับหาได้ยาก เพราะการระบุมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียเวลาพอสมควร ไม่มีอะไรมารับรองว่าการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าจริงจะให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต

อ้างอิง

BinanceAcademy, Gemini

Fundamental analysis

When investing, many employ various complex strategies in order to manage risks and profit margins for the ultimate goal of securing a successful investment. One of the most commonly used strategies is Fundamental Analysis (FA), an investment analysis strategy concerning both quantitative and statistical data regarding businesses or institutions that can affect the movement of an asset’s price. This is all to find the intrinsic value of the asset at hand.

When the asset’s intrinsic value has been discovered, fundamental analysis investors would compare the value of the asset’s current price to observe whether or not its value is higher, lower, or reasonable. Regardless of the calculation outcome, the general belief is that the asset’s value would revert back to its original intrinsic value.

Henceforth, the fundamental analysis method is suitable for acquiring benefits when the asset’s market value is lower than its intrinsic value and also commonly employed when aiming for profitable gains.

How to use the FA method

The FA method applies to almost any financial market as the focus of finding an asset’s intrinsic value is beneficial to any form of investment.

In length, the method covers many branches of thought and knowledge, including the areas of financial statement analysis, indicators, institutes, global economy, and much more, all of which can be analyzed through the FA method.

Nonetheless, with varying markets come varying factors and indicators that need to be taken into account beforehand.

Equity investors may study a company’s financial statements, stock’s P/E ratio, etc. Those in the Forex market would have to look into differing variants, like information regarding the central bank, which would help study a country’s economic status.

FA in Crypto Markets

In correlation to the aforementioned information, the cryptocurrency market also attains its varying factors and indicators.

Network value-to-transaction (NVT) ratio

Network value-to-transaction (NVT) is the ratio brought into play to determine whether or not a blockchain network’s value is higher or lower than its actual value. The result can be found from the ratio comparing net worth of the blockchain network (equal to its market cap) with the number of daily on-chain transactions or how much the blockchain is used in a day.

This equation is as follows:

NVT = network value / Daily Transaction Volume

When calculating the NVT of two values, the higher ratio of the two illustrates that its blockchain’s value is higher than normality and the other is lower. This can be exemplified by a situation where two networks’ market capitalizations, of coin A and B, are both equal to 10,000 THB, but differ in the NVT ratio, wherein coin A is 60 and coin B is 150.

In general, assets with lower NVT are considered as undervalued assets. In contrast, assets with higher NVT are considered overvalued. Therefore, it can be concluded that coin A, with the lower NVT, is undervalued, while the network is overvalued.

Daily active addresses/ users (DAA)

Daily active addresses refer to the indication of active user accounts on a network within a day. Its usefulness lies within the fact that it is beneficial for indicators, such as NVT, as well as for determining the trend of a network.

Price-to-mining-breakeven ratio

The Price-to-mining-breakeven ratio is an equation used to determine whether the cost of mining a new coin in Proof of Work fashion is worth the value of that coin or not. It concerns the coin market price, mining capital, electricity fees and initial costs for hardware.

The equation is as follows:

Price-to-mining-breakeven = coin market price / initial costs when mining a coin

This ratio is also applicable towards the indication of economic status as well. If the Price-to-mining-breakeven ratio is higher than 1, it means that there is a probability that investing in the asset would be profitable. Miners tend to use this method, further driving the network’s economy.

Information concerning Developers

When investing in assets, though there are techniques and indicators that can be applied for price analysis, investors tend to stick to basic means to thoroughly better the understanding behind the project and the technology. Such methods concern the asset’s whitepaper, the information behind the developers, and their drawn roadmap.

Pros

The FA technique is suitable for analysis that takes into consideration any highly detailed information that is easy to access, including economic data, a company’s turnover, and much more.

This investing approach, moreover, could contribute to substantial gains in the long run, just like how bitcoin’s price has surged over 4,800,000% over 10 years. Hence, most of the well-known figures like Warren Buffet and Peter Lynch, for example, utilize fundamental analysis for their investment decisions.

Therefore, if done right, fundamental analytic investors could benefit from these pieces of information and improve their investment methods.

Cons

Though easily conducted, the FA technique can be difficult to assess as an asset’s intrinsic value is not easily indicated. Moreover, if an asset is undervalued, there are no guarantees that it will revert to its intrinsic value.

Reference

BinanceAcademy, Gemini

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Utah Taneerat | 06 ม.ค. 65 | อ่าน: 7,156
บทความล่าสุด