บทความ

อธิบายสินทรัพย์ดิจิทัล ง่ายกว่าที่คิด!

image

ทุกวันนี้ หนุ่มสาววัยทำงานหลายคนน่าจะคุ้นเคยและเข้าใจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลกันแล้วว่ามันทำงานอย่างไร มีเทคโนโลยีอะไรอยู่เบื้องหลัง และมูลค่าของมันมาจากไหน

แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุหน่อย อย่างคุณพ่อคุณแม่หรือปู่ย่าตายายของเราล่ะ พวกเขาอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจคริปโทฯ เท่าไหร่นัก แล้วทีนี้เราจะอธิบายเขาอย่างไรดี? ในบทความนี้ เราจะแนะนำวิธีอธิบายคริปโทเคอร์เรนซีแบบง่าย ๆ กัน

1.เข้าใจธรรมชาติของผู้ใหญ่

เนื่องจากผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่าเรา พวกท่านอาจคุ้นเคยกับเงินหรือสินทรัพย์ที่ออกและควบคุมโดยตัวกลางที่เชื่อถือได้อย่างธนาคารกลางหรือตลาดหลักทรัพย์ จึงไม่แปลกที่พวกท่านจะมองว่าคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินอากาศเพราะไม่สามารถจับต้องได้เหมือนเงินสด แถมไม่มีตัวกลางคอยควบคุมอีกด้วย

แต่เราก็สามารถอธิบายให้พวกท่านเข้าใจหลักการและแนวคิดของคริปโทเคอร์เรนซีได้ โดยเริ่มจากเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังก่อน และค่อย ๆ อธิบายไม่จำเป็นต้องรีบร้อน

2.อธิบายเทคโนโลยีบล็อกเชน

วิธีที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจเทคโนโลยีบล็อกเชนที่อยู่เบื้องหลังคริปโทเคอร์เรนซีได้ง่ายที่สุด ก็คือการยกตัวอย่าง โดยจะยกตัวอย่างหมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน เวลาที่คนในหมู่บ้านต้องการโอนเงิน แต่ละหมู่บ้านมีวิธีจัดการแตกต่างกันดังนี้

image

หมู่บ้าน A: หมู่บ้านนี้จะเลือกหัวหน้าหมู่บ้านขึ้นมา 1 คน ให้หัวหน้าถือสมุดบัญชีคอยจดบันทึกการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เวลาที่คนในหมู่บ้านต้องการโอนเงินให้กันก็แค่เดินไปบอกหัวหน้า หัวหน้าก็จะตรวจสอบว่าคนที่ต้องการโอนมีเงินจริงหรือไม่ จากนั้นก็หักจำนวนเงินที่ต้องการโอนและไปบวกเพิ่มให้กับคนที่ได้รับโอน

image

หมู่บ้าน B: แทนที่จะเลือกหัวหน้าหมู่บ้านให้ถือสมุดบัญชีเพียงคนเดียว หมู่บ้านนี้กำหนดให้ทุกคนถือสมุดบัญชีกันคนละเล่ม ทุกเล่มจะมีข้อมูลธุรกรรมตั้งแต่ธุรกรรมแรกจนถึงธุรกรรมล่าสุดเหมือนกันหมด และจะคอยตรวจสอบให้ข้อมูลตรงกันอยู่เสมอ เวลาจะทำธุรกรรมในหมู่บ้านนี้ ผู้ทำธุรกรรมก็จะเดินไปกลางหมู่บ้านและประกาศว่าจะโอนเงิน ทุกคนก็จะนำสมุดบัญชีออกมาตรวจสอบว่ามีเงินจริงหรือไม่ จากนั้นก็หักจำนวนเงินที่ต้องการโอนและไปบวกเพิ่มให้กับคนที่ได้รับโอนลงในสมุดของทุกคน

ความแตกต่างระหว่าง 2 หมู่บ้าน: ในกรณีที่มีคนโกงต้องการแก้ไขข้อมูลในสมุดบัญชี ถ้าเป็นหมู่บ้าน A เขาก็แค่ไปที่บ้านของหัวหน้าเพื่อแอบเอาสมุดบัญชีมาแก้ไข แต่ถ้าเป็นหมู่บ้าน B ต่อให้เปลี่ยนข้อมูลในสมุดบัญชีที่ตัวเองถือ ถ้าไม่เปลี่ยนข้อมูลของคนอื่น ๆ ในหมู่บ้านให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ข้อมูลที่ถูกแก้ไขก็จะไม่ได้รับการยอมรับ ทำให้การโกงในหมู่บ้าน B เป็นไปได้ยาก ยิ่งเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่เท่าไหร่การโกงระบบก็จะยิ่งยากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ ในกรณีที่มีคนป่วยหรือหยุดจดไป ระบบก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะคนที่เหลือยังคอยช่วยกันจดอยู่ พอหายป่วยก็แค่ไปลอกข้อมูลของคนอื่นและอัปเดทให้เป็นปัจจุบันแค่นั้น

จากตัวอย่าง หมู่บ้าน A ก็คือระบบการเงินแบบที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน โดยมีหัวหน้าหมู่บ้านหรือธนาคารเป็นผู้ควบคุมระบบการเงิน ขณะที่หมู่บ้าน B ระบบที่ใช้ก็คือบล็อกเชน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบ “สมุดบัญชีสาธารณะ” ส่วนเงินที่ใช้กันในหมู่บ้านนั้นก็คือ Bitcoin นั่นเอง

3.แล้วเหรียญอื่น ๆ คืออะไร?

ตัวอย่างที่ยกมาด้านบนก็คือ Bitcoin เพียงเหรียญเดียว เนื่องจาก Bitcoin คือสกุลเงินดิจิทัลสกุลแรกของโลกที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ หากอธิบาย Bitcoin จนเข้าใจแล้วก็จะสามารถเข้าใจเหรียญอื่น ๆ ได้ไม่ยาก

ส่วนเหรียญอื่น ๆ หรือที่เรียกว่า Altcoin หลายเหรียญถูกสร้างขึ้นโดยมีพื้นฐานคล้ายกับ Bitcoin บางเหรียญนำระบบของบิตคอยน์มาปรับปรุงตามวิสัยทัศน์ของผู้สร้าง ได้แก่ Litecoin (LTC) กับ Bitcoin Cash (BCH) เป็นต้น

แต่บางเหรียญก็พัฒนาบล็อกเชนขึ้นไปอีกขั้น เช่น Ethereum (ETH) ที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้

Ethereum ถือเป็นเหรียญที่ทำให้คริปโทเคอร์เรนซีมีความซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมมาก จากเดิมที่บิตคอยน์ทำได้แค่รับและโอนเงิน แต่ Ethereum สามารถทำได้มากกว่า เพราะสิ่งที่เรียกว่า Smart Contract หรือ “สัญญาอัจฉริยะ”

สัญญาอัจฉริยะคือชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมที่สามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติเมื่อครบเงื่อนไขที่กำหนด ถ้ายังไม่เข้าใจก็ลองนึกถึงตู้กดน้ำอัตโนมัติดูก็ได้ เมื่อเราหยอดเงินเข้าตู้ครบตามเงื่อนไขก่อน ตู้ก็จะออกน้ำให้เรานั่นเอง

การที่เราสามารถเขียนโปรแกรมบนบล็อกเชนได้ ทำให้เกิดการสร้างแอปพลิเคชันหรือการใช้งานรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นบนบล็อกเชน ไม่ว่าจะเป็นไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืม แลกเปลี่ยน ค้ำประกัน และอีกมากมาย โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง

การจะใช้แอปฯ ที่อยู่บนบล็อกเชนได้ เราจำเป็นต้องมีเหรียญของเครือข่าย ซึ่งในกรณีของ Ethereum ก็คือเหรียญ Ether (ETH) ที่มีหน้าที่หลักคือใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมเพื่อดำเนินธุรกรรมหรือใช้แอปฯ นั่นเอง นอกจาก ETH เหรียญอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันได้แก่ Bitkub Coin (KUB), Cardano (ADA), Polkadot (DOT), Solana (SOL), Avalanche (AVAX) ฯลฯ

4.ยังมีโทเคนอีกนะ

แอปฯ ที่กล่าวมาข้างบนก็อาจมีการออกเหรียญหรือโทเคนเพื่อใช้งานภายในระบบของตัวเองด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างแอปฯ Uniswap ที่มีโทเคน UNI ที่ใช้เพื่อแทนสิทธิ์ในการโหวตทิศทางพัฒนา หรือแลกสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ทางแอปฯ จะมอบให้

นอกจาก UNI แล้วโทเคนเหล่านี้มีอีกหลายสกุลมากกว่าเหรียญที่ยกตัวอย่างในข้อก่อน ๆ เสียอีก ซึ่งแต่ละโทเคนก็จะใช้ร่วมกับแอปฯ ที่แตกต่างกันออกไป และสินทรัพย์ที่มีให้เลือกซื้อขายบน Bitkub ส่วนใหญ่จะเป็นโทเคนเหล่านี้นั่นเอง

ส่งท้าย

นี่เป็นเทคนิคที่ผู้เขียนใช้อธิบายเรื่องของบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีให้ผู้ใหญ่ที่บ้านฟังแบบง่าย ๆ ไม่ได้ลงลึกเรื่องของข้อมูลทางเทคนิคอะไรมากนัก หวังว่าช่วงเทศกาลปีนี้ผู้อ่านทุกคนจะสามารถนำเรื่องราวของคริปโทเคอร์เรนซีไปเล่าให้ญาติพี่น้องฟังและสามารถต่อยอดการเรียนรู้ในเทคโนโลยีได้ต่อไป

_________________________________________

บทความที่คุณอาจสนใจ
หุ้น vs. คริปโต แตกต่างกันอย่างไร?
อธิบาย Bitcoin การเงินแห่งอนาคต
รู้จักกับ Ethereum สกุลเงินดิจิทัลอันดับ 2 ของโลก
‘Bitcoin เล่นยังไง’ คู่มือนักเทรดมือใหม่ เข้าใจพื้นฐาน เพื่อต่อยอดสู่อนาคต

_________________________________________

มาเรียนรู้เรื่อง บิตคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrency ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกของคริปโทฯ ได้ดีขึ้น ที่ Bitkub Blog

หากคุณยังเป็นมือใหม่ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ “แหล่งความรู้ มือใหม่หัดเทรดคริปโต เริ่มต้นที่นี่

*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต”

_________________________________________

How to Simplify Digital Assets?

Today, many young people are familiar with and understand how digital assets like cryptocurrencies work? What technology is behind it? and Where does its value come from?

But if an older adult likes our parents or grandparents? They probably don’t quite understand crypto, so how do we explain them here?

In this article, we will walk you through an easy way to explain cryptocurrencies back home this holiday season, so that you can share some good knowledge with the elderly.

1. Understand the nature of adults

Adults who are older than us may be familiar with assets or money issued and regulated by trusted intermediaries such as central banks or stock exchanges. Therefore, it’s common for them to view cryptocurrencies as air money because they are not as tangible as cash. Plus, there is no intermediary to control.

You can explain to them the principles and concepts of cryptocurrencies. It starts with the technology behind it and then gradually explains it step by step.

2. Explain Blockchain Technology

The easiest way for everyone to understand the blockchain technology behind cryptocurrencies is to give an example. An example is there are 2 villages where the people in the village want to conduct financial transactions. Each village has different management methods as follows:

image

Village A: This village will select a village chief and have the chief hold an account book to keep a record of the transactions that occur in the village. When the villagers want to transfer money to each other, they just walk and tell the boss. The head will check whether the person who wants to transfer money is real or not. Then deduct the amount that you want to transfer and add more to the person who received the transfer.

image

Village B: Instead of choosing a village chief, hold only one account book. This village requires everyone to hold different account books. All volumes contain the same transaction information from the first transaction to the last transaction. Then, it will be always checked to keep the same information. When it’s time to do transactions in this village, the trader then walks to the middle of the village and announces that the money will be transferred. Everyone will take the account book out to check if there is enough money or not. If there’s enough, the money will be deducted and transferred into everyone’s account.

The difference between the two villages: In the event that a fraudster wants to edit the information in the account book. If it was Village A, he would just go to the chief’s house to secretly get the account book and fix it. If it is village B, even if you need to change the information in the account book that you hold. If not, the information of at least half of the other people in the village will need to be modified, or else it will not be accepted. This made it difficult to cheat in Village B. The larger the village, the more difficult it will be to cheat the system. In the case that the system can still continue, it is because the rest are still helping to take notes. When recovered, just copy other people’s information and update it to the current one.

From the example, Village A is the current familiar financial system. The village head or bank is in control of the financial system. Whereas Village B, the system used is Blockchain, also known as the money system used in the village is Bitcoin.

3. What About Other Coins?

The example cited above is Bitcoin alone. Since Bitcoin is the world’s first digital currency to adopt blockchain technology, once you understand Bitcoin it will be easy to understand other coins.

Other coins, known as altcoins, were created with a similar foundation to Bitcoin. Some of them were based on the creator’s vision of the Bitcoin system, namely Litecoin (LTC) and Bitcoin Cash (BCH), among others. However, some coins have taken blockchain to the next level, such as Ethereum (ETH), to give an example below.

Ethereum is the coin that makes cryptocurrencies much more complex than ever. Originally Bitcoin could only accept and transfer money, but Ethereum can do more, known as a Smart Contract.

A smart contract is a set of computer instructions or programs that can be executed automatically when certain conditions are met. If you still don’t understand, you can think of an automatic water dispenser. When we drop the money into the cabinet according to the conditions before, the cabinet will then supply water for us.

We can write programs on the blockchain enabling the creation of new applications or applications on the blockchain Whether it’s a loan, exchange, guarantee, and many more without having to go through an intermediary.

To use apps that are on the blockchain We need network coins. In the case of Ethereum, it is the Ether (ETH) coin whose main function is to pay a fee for transactions or apps. Other than ETH, other similar coins include Bitkub Coin (KUB), Cardano (ADA). ), Polkadot (DOT), Solana (SOL), Avalanche (AVAX), etc.

4. There Are Tokens Too.

The apps mentioned above may also issue coins or tokens for use within their systems. For example, a Uniswap app has a UNI token used to represent the right to vote on the development direction or redeem other benefits that the app will provide.

In addition to UNI, these tokens are available in more denominations than the ones described in the preceding paragraph, each of which is shared with the app differently. Most of the assets available for trading on Bitkub are these tokens.

Summary

This is a technique I use to explain blockchain and cryptocurrencies to adults at home in a simple, non-technical way. We hope that this festive season, all readers will be able to share the story of cryptocurrencies with their relatives and further their learning in technology.

_________________________________________

— Cryptocurrency and digital tokens involve high risks; investors may lose all investment money and should study information carefully and make investments according to their own risk profile.

— Digital assets involve risks; investors should study information carefully and make investments according to their own risk profile.

— Returns/Past Performance does not guarantee future returns/performance.

ผู้เขียน: Waranyu Suknantee | 02 ต.ค. 66 | อ่าน: 9972
บทความล่าสุด