บทความ

รวมข่าวคริปโตรายสัปดาห์: ราคา Bitcoin สูงขึ้นท่ามกลางกระแส Bitcoin ETF

image

Bitkub Blog รวบรวมข่าวเด่นในวงการคริปโทเคอร์เรนซีและบล็อกเชนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาให้อ่านกันที่นี่แล้ว มีข่าวอะไรที่นักลงทุนไม่ควรพลาดบ้าง มาดูกันได้เลย!

*เนื้อหาต่อไปนี้เป็นการนำข่าวสารย้อนหลังตลอดช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาจากเว็บไซต์ต่างประเทศมาเรียบเรียงและสรุปให้เข้าใจง่าย ไม่ได้เป็นการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด

_________________________________________

ราคา Bitcoin ปรับสูงขึ้น หลังกองทุนรายใหญ่พากันจดทะเบียน Bitcoin ETF

ราคา Bitcoin พุ่งแตะระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนเมษายนในสัปดาห์นี้ เนื่องจากตลาดต่างตื่นเต้นกับโอกาสเกิดขึ้นของ Bitcoin ETF หลังจากมีการยื่นขอจดทะเบียนจากบริษัทต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง BlackRock

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา BlackRock ได้ยื่นขอจดทะเบียนสำหรับ Bitcoin ETF ซึ่งจะอ้างอิงราคาตลาดของ Bitcoin โดยนักวิเคราะห์มองว่าสิ่งนี้จะทำให้นักลงทุนเข้าถึงการลงทุนใน Bitcoin ได้โดยที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์จริง ๆ

หลังจากการประกาศของ BlackRock บริษัทจัดการสินทรัพย์อื่น ๆ ก็ได้ยื่นคำขอขสำหรับ Bitcoin ETF ของพวกเขาเองเช่นกัน ซึ่งรวมถึง WisdomTree และ Valkyrie

ที่มา CNBC

เรียนรู้ Bitcoin ได้ที่นี่
ทำความเข้าใจ Bitcoin คืออะไร? ภายใน 3 นาที

_________________________________________

อัตรา Bitcoin Dominance ขึ้นมาที่ 50% เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน อัตราการครองตลาดของ Bitcoin หรือ Bitcoin Dominance แตะระดับ 50% เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ก่อนจะย่อลงมาเคลื่อนไหวแถว 49.9%

ซึ่งหมายความว่า Bitcoin มีมูลค่าคิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดคริปโตทั้งหมดที่ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่าตลาดปัจจุบันของ Bitcoin อยู่ที่ 519 พันล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลจาก Coingecko

เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตรา Bitcoin Dominance เพิ่มขึ้นมากกว่า 10.5% ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2022 ซึ่งเพิ่มขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนที่มองหาสินทรัพย์คริปโตที่สามารถเป็นที่หลบภัยหลังจากวิกฤตตลาดและท่ามกลางการตรวจสอบด้านกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา

ที่มา Cointelegraph

เรียนรู้ Bitcoin Dominance ได้ที่นี่
Bitcoin Dominance คืออะไร? รู้จักตัวชี้วัดความเป็นใหญ่ของ BTC

_________________________________________

นักพัฒนา Ethereum เล็งเพิ่มเพดาน Staking เพื่อเป็น Validator อีก 64 เท่า

นักพัฒนาหลักของ Ethereum วางแผนที่จะเพิ่มจำนวนเหรียญที่สามารถ Stake ได้สูงสุดเพื่อเป็นผู้ตรวจสอบ (Validator) จาก 32 ETH เป็น 2048 ETH หรือเพิ่มขึ้น 64 เท่า ในขณะที่จำนวนเงิน Stake ขั้นต่ำยังคงอยู่ที่ 32 ETH

ข้อเสนอนี้จัดทำขึ้นในระหว่างการประชุมนักพัฒนาหลักของ Ethereum เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน โดย Michael Neuder นักวิจัยของ Ethereum Foundation ตั้งข้อสังเกตว่าแม้ขีดจำกัดปัจจุบันที่ 32 ETH จะอนุญาตให้ผู้ตรวจสอบจำนวนมากขึ้นเข้าร่วมเครือข่าย Ethereum ทำให้มีการกระจายอำนาจมากขึ้น แต่ก็อาจจะทำให้จำนวนผู้ตรวจสอบที่เป็นคนเดียวกันแต่ Stake หลายบัญชีมีมากเกินไปจนเฟ้อได้

Neuder เสริมว่าการเพิ่มขึ้นเช่นนี้ในท้ายที่สุดจะช่วยให้เครือข่าย Ethereum มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ Neuder ยังเรียกร้องให้มีการทบต้นรางวัลผู้ตรวจสอบแบบอัตโนมัติ (Auto-compounding) ด้วย

ที่มา Cointelegraph

เรียนรู้ Ethereum ได้ที่นี่
รู้จัก Ethereum คริปโทที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

_________________________________________

Etherscan เปิดตัวเครื่องมือ Code Reader ที่ใช้ AI

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน Etherscan เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลบนบล็อกเชน Ethereum ได้เปิดตัวเครื่องมือใหม่ “Code Reader” ซึ่งใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการดึงข้อมูลและตีความซอร์สโค้ดของสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) โดยใช้โมเดลภาษาของ OpenAI

ตัวอย่างความสามารถของ Code Reader ได้แก่ สามารถสรุปข้อมูลของสัญญาผ่านคำอธิบายที่สร้างโดย AI อธิบายแต่ละฟังก์ชันการทำงานสัญญาอัจฉริยะ และทำความเข้าใจว่าสัญญามีการโต้ตอบกับแอปพลิเคชันกระจายอำนาจอื่น ๆ อย่างไรบ้าง เป็นต้น

ที่มา Cointelegraph

เรียนรู้ Smart contract ได้ที่นี่
Smart Contract คืออะไร?

_________________________________________

ผู้ร่วมก่อตั้ง Polygon เสนอการอัปเกรด ‘Validium’ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย

Mihailo Bjelic ผู้ร่วมก่อตั้ง Polygon ได้เสนอให้อัปเกรดเครือข่าย Polygon proof-of-stake (PoS) เป็นเวอร์ชัน “zkEVM validium” ตามโพสต์ในฟอรัมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน หากดำเนินการอัปเกรด เวอร์ชันใหม่จะนำระบบ Zero-knowledge proofs มาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัย

Polygon PoS เป็นโซลูชันการปรับขนาดของ Ethereum ที่มีมูลค่าหมุนเวียนในเครือข่ายมากกว่า 900 ล้านดอลลาร์แลธุรกรรมมากกว่า 2 ล้านรายการต่อวัน เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาทีม Polygon ได้เปิดตัวเครือข่ายที่สองคือ Polygon zkEVM ซึ่งใช้ Zero-knowledge proofs เพื่อปรับขนาด Ethereum

Bjelic เสนอให้อัปเกรดเครือข่าย PoS เก่าเป็นเวอร์ชัน zkEVM หรือ Zero-knowledge Ethereum Virtual Machine ซึ่งทำให้ทั้งสองเครือข่ายพึ่งพาระบบ Zero-knowledge อย่างไรก็ตาม การอัปเกรด Polygon PoS จะไม่ได้เป็นการ Rollup โดย Bjelic กล่าวว่ามันจะไม่เก็บข้อมูลธุรกรรมที่ถูกสรุปไว้บน Ethereum แต่จะเป็น “Validium” ที่เก็บเฉพาะหลักฐานการตรวจสอบไว้บนเลเยอร์ 1 ในขณะที่ข้อมูลธุรกรรมจริงจะถูกเก็บไว้ในบล็อกเชนแยกต่างหาก

ที่มา Cointelegraph

เรียนรู้ Polygon (MATIC) และ Zero-knowledge proofs ได้ที่นี่
รู้จัก MATIC หนึ่งใน Layer 2 ของ Ethereum ที่มาแรงที่สุดตอนนี้
รู้จัก Zero-Knowledge Proofs ความโปร่งใสที่มาพร้อมกับความเป็นส่วนตัว

_________________________________________

Offchain Labs เปิดตัวเครื่องมือสำหรับสร้างบล็อกเชน Layer 3 “Orbit” บน Arbitrum

Offchain Labs ที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนา Arbitrum เครือข่าย Layer 2 ของ Ethereum ได้เปิดตัวเครื่องมือเฉพาะสำหรับนักพัฒนาเพื่อสร้างบล็อกเชน Layer 3 ของตนเองโดยใช้ชุดซอฟต์แวร์ Orbit ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสร้างบล็อกเชนเฉพาะของตัวเองบนหนึ่งในเลเยอร์ 2 ของ Arbitrum: Arbitrum One หรือ Arbitrum Nova ได้

ทีมงานกล่าวว่า ด้วย Orbit นักพัฒนาสามารถกำหนดโปรโตคอลการกำกับดูแล ความเป็นส่วนตัว การอนุญาต และระบบโทเคนของตนเองได้

นอกจากเครื่องมือใหม่แล้ว Offchain Labs ยังเปิดตัวสภาพแวดล้อมแบบแซนด์บ็อกซ์ที่เรียกว่า Orbit Devnet ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาทดสอบสัญญาอัจฉริยะและแอปพลิเคชันได้อย่างปลอดภัยก่อนที่จะนำไปใช้บน Orbit

ที่มา The Block

เรียนรู้ Arbitrum ได้ที่นี่
Arbitrum (ARB) คืออะไร รู้จักผู้ช่วยสุดปังของ Ethereum

_________________________________________

มาเรียนรู้เรื่อง บิตคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrency ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกของคริปโทฯ ได้ดีขึ้น ที่ Bitkub Blog

หากคุณยังเป็นมือใหม่ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ “แหล่งความรู้ มือใหม่หัดเทรดคริปโต เริ่มต้นที่นี่

*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต”

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Waranyu Suknantee | 23 มิ.ย. 66 | อ่าน: 1,219
บทความล่าสุด