บทความ

รวมข่าวคริปโตรายสัปดาห์: Ethereum ทดสอบ Fork ตัวอัปเกรด Shanghai สำเร็จ

image

Bitkub Blog รวบรวมข่าวเด่นในวงการคริปโทเคอร์เรนซีและบล็อกเชนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาให้อ่านกันที่นี่แล้ว มีข่าวอะไรที่นักลงทุนไม่ควรพลาดบ้าง มาดูกันได้เลย!

*เนื้อหาต่อไปนี้เป็นการนำข่าวสารย้อนหลังตลอดช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาจากเว็บไซต์ต่างประเทศมาเรียบเรียงและสรุปให้เข้าใจง่าย ไม่ได้เป็นการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด

===================

Ethereum ทดสอบ Fork ตัวอัปเกรด Shanghai สำเร็จ

image

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เครือข่ายทดสอบ Sepolia ของ Ethereum ได้จำลองการ Hard fork ของตัวอัปเกรด Shanghai สำเร็จ

ทั้งนี้ นักพัฒนาของ Ethereum บางครั้งก็เรียกการอัปเกรดดังกล่าวว่า “Shapella” ซึ่งเป็นการรวมชื่อของ Shanghai และ Capella เข้าด้วยกัน

โดย Shanghai Hard Fork เป็นการอัปเกรดในระดับ Execution layer ส่วน Capella เป็นการอัปเกรดในระดับ Consensus layer โดยสิ่งสำคัญที่นักลงทุนจับตาจากการอัปเกรดนี้คือการปลดล็อกให้สามารถถอนเหรียญ ETH ที่เคยล็อกไว้ใน Beacon Chain ซึ่งคาดว่าอาจมีกระทบต่อราคา ETH อย่างมีนัยสำคัญ

ที่มา Cointelegraph

อ่านเกี่ยวกับ Shanghai Hard Fork ได้ที่นี่
-รู้จัก Ethereum คริปโทที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
-ทำความรู้จัก Shanghai Hard Fork การอัปเกรดของ Ethereum ปี 2023

===================

Polkadot Kusama Cardano นำโด่งด้านความถี่ในการพัฒนา

image

ข้อมูลจาก Santiment แสดงให้เห็น Polkadot (DOT) ยังคงรักษาตำแหน่งสกุลเงินดิจิทัลที่มีจำนวนกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนามากที่สุดบน Github ครองอันดับร่วมกับเครือข่าย Kusama (KSM) ที่เป็นเหมือนเครือข่ายทดสอบของ Polkadot และตามมาโดย Cardano (ADA)

กิจกรรมการพัฒนาของ Polkadot ร่วมกับเครือข่าย Kusama ในช่วง 30 วันที่ผ่านมานั้นเหนือกว่าเครือข่ายอื่น ๆ ทั้งหมดที่อยู่ในอันดับ Top10 ตามมาโดย Cardano เป็นอันดับที่สาม นำหน้า Internet Computer (ICP), Decentraland (MANA), Ethereum (ETH), Cosmos (ATOM) Status (SNT), Vega Protocol (VEGA) และ Filecoin ($FIL)

ที่มา Crypto Globe

อ่านเกี่ยวกับ Polkadot Kusama และ Cardano ได้ที่นี่
-Polkadot เหรียญใหม่มาแรง จากผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum
-Kusama ญาติตัวป่วนของ Polkadot!
-มาทำความรู้จัก ADA (Cardano) ให้มากขึ้น

===================

Polygon เปิดตัวบริการระบุตัวตนบน Web3 โดยใช้ Zero-knowledge proofs

image

Polygon (MATIC) ซึ่งเป็น Sidechain ของ Ethereum ได้เปิดตัวบริการระบุตัวตนบน Web3 ที่เรียกว่า Polygon ID ซึ่งจะอนุญาตให้แอปพลิเคชันบนบล็อกเชนสามารถตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้โดยไม่กระทบข้อมูลส่วนบุคคล

โปรเจกต์ที่สร้างบน Polygon หลายเจ้าอย่าง Kaleido, Fractal และ Collab.Land ได้แสดงการสนับสนุน Polygon ID ที่มาพร้อมกับชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาแล้ว โดยบริการสามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้สำหรับแอปฯ บนบล็อกเชนได้ ในขณะที่รักษาความเป็นส่วนตัวผ่านการใช้เทคโนโลยี Zero-knowledge proofs

Polygon ID อาจเป็นประโยชน์ในด้าน KYC (Know Your Customer) ที่ต้องใช้กระดานแลกเปลี่ยนแบบรวมอำนาจ แพลตฟอร์ม DeFi ที่ต้องได้รับอนุญาต ตลอดจนการชำระเงิน ซึ่งบริการก็สามารถทำงานร่วมกับกระเป๋าของ Polygon ได้ด้วย

ที่มา The Block

อ่านเกี่ยวกับ Polygon, Web3 และ Zero-knowledge proofs ได้ที่นี่
รู้จัก MATIC หนึ่งใน Layer 2 ของ Ethereum ที่มาแรงที่สุดตอนนี้
Web 3.0 คืออะไร เกี่ยวกับบล็อกเชนอย่างไร?
รู้จัก Zero-Knowledge Proofs ความโปร่งใสที่มาพร้อมกับความเป็นส่วนตัว

===================

นักพัฒนา Ethereum เลื่อน Shanghai Hard Fork เป็นต้นเดือนเมษายน

การอัปเดต Shanghai Hard Fork ที่หลายคนรอคอย จากเดิมที่จะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนมีนาคม ล่าสุดได้ถูกเลื่อนออกไปอีกสองสัปดาห์เป็นช่วงต้นเดือนเมษายน หลังจากการประชุมนักพัฒนาหลักของ Ethereum เมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา

ในระหว่างการประชุม นักพัฒนาหลักเห็นพ้องต้องกันว่าการ Hard Fork จะเกิดขึ้นประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากการเปิดตัวเครือข่าย Goerli testnet ซึ่งมีกำหนดในวันที่ 14 มีนาคม โดยเครือข่าย Goerli จะเป็นการทดสอบครั้งสุดท้ายสำหรับ Shanghai Hard Fork ก่อนเปิดตัวบน Mainnet

Tim Beiko นักพัฒนาหลักของ Ethereum และผู้ประสานงานโปรเจกต์กล่าวว่า “สำหรับ Mainnet เรามักจะแจ้งให้ผู้คนรับทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสองสัปดาห์ ถ้าการทดสอบบน Goerli เกิดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม และทุกอย่างเป็นไปด้วยดี วันที่ 16 เราก็จะประกาศดำเนินการต่อบน Mainnet ดังนั้นผมจึงคิดว่า Shanghai Hard Fork น่าจะเกิดขึ้นเร็วที่สุดภายในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน”

ที่มา Cointelegraph

===================

Cardano ถูกมองเป็นการลงทุนระยะยาวมากขึ้น

Cardano (ADA) กำลังกลายเป็นการลงทุนระยะยาวสำหรับผู้ถือจำนวนมาก โดยมีผู้คนจำนวนมากขึ้นเลือกที่จะถือเหรียญของพวกเขาเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปี แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นในศักยภาพของเหรียญในระยะยาว

หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้จำนวนผู้ถือ ADA ระยะยาวเพิ่มขึ้นน่าจะมาจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเครือข่าย Cardano ที่มีความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายในการเป็นแพลตฟอร์มสัญญาอัจฉริยะแบบกระจายอำนาจที่สามารถแข่งขันกับ Ethereum ได้ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากนักลงทุนที่เชื่อมั่นในศักยภาพระยะยาว

ที่มา U.today

===================

Lido Finance เปิดระบบ Staking rate limit หลังมี ETH ถูกล็อกมากกว่า 150,000 เหรียญ

แพลตฟอร์มสำหรับการ Stake เหรียญเพื่อเพิ่มสภาพคล่องอย่าง Lido Finance (LDO) เปิดระบบจำกัดการฝากเหรียญโดยอัตโนมัติ หลังจากพบว่ามีเหรียญ ETH ถูกฝากเข้ามาเพื่อทำการ Stake กว่า 150,000 เหรียญภายในวันเดียว

โดยในคู่มือของ Lido ได้อธิบายไว้ว่า ระบบจำกัดการฝากเหรียญดังกล่าว หรือ “Safety valve” มีเป้าหมายเพื่อจำกัดจำนวนเหรียญ stETH ที่จะถูกมิ้นท์ออกมามากเกินไป เพื่อป้องกันผลกระทบในทางลบ อย่างเช่นมูลค่าของรางวัลที่จะถูกลดมูลค่าให้น้อยลง เป็นต้น

ขณะที่นักวิเคราะห์ Lookonchain ได้แชร์สกรันช็อตที่แสดงให้เห็นว่าเหรียญ ETH ทั้งหมด 150,100 เหรียญที่ถูกเข้ามา อาจมาจากผู้ใช้คนเดียวกัน โดยทำการฝากเข้ามาครั้งละ 50,000 เหรียญ

ที่มา Cointelegraph

อ่านเกี่ยวกับ Lido ได้ที่นี่
รู้จัก LDO (Lido DAO) กับความเป็นสุดยอด Ecosystem ของการ Staking

===================

Chainlink เปิดตัวแพลตฟอร์ม Functions สำหรับนักพัฒนา

Chainlink ซึ่งเป็นเครือข่าย Oracle แบบกระจายศูนย์ ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนาในชื่อ Chainlink Functions เพื่อช่วยเชื่อมต่อแอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ (dApps) เข้ากับเว็บแอปแบบดั้งเดิมได้อย่างราบรื่น

โดยขณะนี้แพลตฟอร์มพร้อมใช้งานในเวอร์ชันเบต้าบนเครือข่ายทดสอบ Ethereum Sepolia และ Polygon Mumbai

การเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ Functions จะช่วยเสริมบริการของ Oracle ให้นักพัฒนาบล็อกเชนสามารถเชื่อมต่อ dApps หรือสัญญาอัจฉริยะเข้ากับอินเทอร์เฟซของโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่สร้างบนเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม โดยไม่ต้องจัดการระบบคลาวด์เพิ่มเติม แพลตฟอร์มดังกล่าวได้ผสานรวมกับผู้ให้บริการคลาวด์หลายรายแล้ว ได้แก่ Amazon Web Services, Meta เป็นต้น

ที่มา The Block

อ่านเกี่ยวกับ Oracle ได้ที่นี่

Data Oracle คืออะไร? สำคัญอย่างไร?

===================

คำเตือน

*สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

**คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง คุณอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน

***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Waranyu Suknantee | 03 มี.ค. 66 | อ่าน: 2,365
บทความล่าสุด