บทความ

Coin กับ Token ต่างกันอย่างไร?

image

สำหรับนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลอาจเริ่มสังเกตว่ามีบางโปรเจกต์ที่สกุลเงินนั้นถูกเรียกว่า “เหรียญ” (Coin) แต่บางโปรเจกต์กลับเรียกว่า “โทเคน” (Token) ทั้งสองอย่างนี้ต่างกันอย่างไร Bitkub Blog จะมาเล่าให้ฟัง

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า นิยามของ Coin กับ Token นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือนิยามตามมาตรฐานที่คนทั่วโลกใช้ กับตามนิยามของ พรก.สินทรัพย์ดิจิทัลไทย ซึ่งวิธีการจำแนกทั้ง 2 แบบนี้มีความแตกต่างกันพอสมควร ก่อนอื่นเรามาดูในส่วนของมาตรฐานโลกกัน

วิธีจำแนก Coin กับ Token ตามมาตรฐานโลก

เรามาดูที่วิธีจำแนกแบบที่คนทั่วโลกเข้าใจ กันก่อน โดยสามารถจำแนกเหรียญทั้ง 2 ประเภทง่าย ๆ ดังนี้

1.Coin หรือเหรียญ คือสกุลเงินดิจิทัลที่มีการพัฒนาระบบบล็อกเชนเป็นของตัวเอง ได้แก่ Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), Cardano (ADA)

2.Token มักจะใช้เรียกพวกเหรียญเล็กๆ ที่ไม่ได้พัฒนาบล็อกเชนเป็นของตนเอง แต่เป็นการพัฒนาขึ้นบนบล็อกเชนของเหรียญอื่น ๆ โดยเฉพาะบล็อกเชนของ Ethereum ที่มีโทเคนถูกสร้างขึ้นมากที่สุดเครือข่ายหนึ่ง ตัวอย่างของโทเคน ได้แก่ UNI (Uniswap), AAVE (Aave), COMP (Compound) เป็นต้น

โทเคนสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1 Utility Token — เป็นโทเคนที่ช่วยให้ผู้ถือสามารถเข้าถึงและใช้ฟีเชอร์ของแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (dApp) รวมถึงแพลตฟอร์ม DEX, Metaverse หรือแพลตฟอร์ม Web3 ได้

2.2 Security Token — เปรียบเสมือนหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ใช้แสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ เพียงแต่อยู่ในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัลที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชน

วิธีจำแนก Coin กับ Token ตาม พรก.สินทรัพย์ดิจิทัลไทย

มุมมองในการจำแนก Coin กับ Token ของพรก.สินทรัพย์ดิจิทัลไทยจะแตกต่างจากมุมมองของทั่วโลกพอสมควร เนื่องจากเป็นการตีความที่เกิดขึ้นในช่วงที่กระแส ICO กำลังโด่งดัง หรือเมื่อช่วงปี 2017 โดยมีนิยามของ Coin กับ Token ดังต่อไปนี้

1.Coin ตามนิยามของ พรบ.สินทรัพย์ดิจิทัลไทย คือเหรียญหรือสกุลเงินดิจิทัลที่ “ถูกสร้างขึ้นมาแบบเฉพาะเจาะจง” สำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการต่าง ๆ คล้ายกับเงินตรา (Currency) หรือใช้สำหรับซื้อขายเหรียญดิจิทัลสกุลอื่น โดยเหรียญที่ใช้เป็นสื่อกลางที่เรามักคุ้นหน้าคุ้นตากันก็คือ BTC, ETH นั่นเอง

2.Token ตามนิยามของ พรก.สินทรัพย์ดิจิทัลไทย คือ Digital Token ที่เปรียบเสมือนตั๋วหรือแต้มสำหรับแลกหรือเข้าใช้บริการต่างๆ รวมไปถึงเปรียบเสมือนตั๋วผ่านทางไปสู่การลงทุนหรือการออกเสียงในระบบนั้น ๆ

ซึ่ง Token ก็สามารถถูกแยกย่อยออกมาได้อีก 2 ประเภท

1.Utility Token (โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์) เป็นแต้มหรือเหรียญชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นบนระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อ “กำหนดสิทธิ” ในการรับสินค้าหรือบริการที่เจาะจง

2.Investment Token (โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน) เป็นแต้มหรือเหรียญชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นบนระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อ “กำหนดสิทธิ” ของบุคคลที่ถือครองเหรียญที่มีสิทธิในการรับ “สิทธิประโยชน์หรือการปันผล” หรือเรียกง่าย ๆ ว่าผู้ถือครองจะมีสิทธิ์ในการรับส่วนแบ่งรายได้ รวมไปถึงการปันผลจากธุรกิจนั่นเอง

ดูการแบ่งประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลบน Bitkub Exchange ได้ที่นี่
การแบ่งประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล

สรุป

วิธีการจำแนก Coin กับ Token ระหว่างมาตรฐานโลกกับพรก.สินทรัพย์ดิจิทัลไทยมีความแตกต่างกันคือมาตรฐานโลกจะจำแนก Coin โดยดูว่าเหรียญนั้นมีบล็อกเชนเป็นของตัวเองหรือไม่ ขณะที่ พรก.สินทรัพย์ดิจิทัลไทยจะดูจากวัตถุประส์ของการใช้ และในส่วนของ Token ฝั่งมาตรฐานโลกมีการแบ่งประเภทออกเป็น Utility Token กับ Security Token ขณะที่พรก.สินทรัพย์ดิจิทัลไทยแบ่งประเภท Token ออกเป็น Utility Token กับ Investment Token

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —

บทความ Bitkub Blog ที่คุณอาจสนใจ

รู้จัก NFT สินทรัพย์ประเภทใหม่จากเทคโนโลยีบล็อกเชน
Blockchain คืออะไร เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกหรือเปล่า?
รู้จัก 9 เหรียญคริปโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุด

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —

มาเรียนรู้เรื่อง บิตคอยน์ (Bitcoin) และ Cryptocurrency ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกของคริปโทฯ ได้ดีขึ้น ที่ Bitkub Blog

หากคุณยังเป็นมือใหม่ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ “แหล่งความรู้ มือใหม่หัดเทรดคริปโต เริ่มต้นที่นี่

*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

**สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

***ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต”

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —

บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2020

อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2023

ที่มา:

Medium

ผู้เขียน: Minyarinn Chaotrakul | 20 มิ.ย. 66 | อ่าน: 14,878
บทความล่าสุด