บทความ

การ Staking อาจไม่ใช่วิธีการที่ง่ายเสมอไปในการทำกำไรในโลกของ Cryptocurrency

Does Staking is the most easy way to take profit in crypto space?

image

Staking คืออะไร
Staking คือ รูปแบบการตรวจสอบธุรกรรมรูปแบบหนึ่งในโลกของ Cryptocurrency เรียกง่ายๆ ว่าคือ “วิธีการตรวจสอบธุรกรรมโดยการวางเงินค้ำประกัน”
วิธีการคือ ขั้นแรกท่านต้องมีเหรียญหรือโทเค็นที่มีรูปแบบการตรวจสอบธุรกรรมแบบ Proof of Stake (หรือ Hybrid PoW & PoS ก็ได้) โดยการนำเหรียญของตัวเองไปต่อยอดโดยการทำ PoS นั้นสามารถเลือกทำได้หลายวิธีการ อาทิ เลือกฝากเหรียญใน Wallet หรือ Exchange ที่รองรับการ Stake, เข้าร่วม Pool ที่ทำ node , การสร้าง Node ด้วยเหรียญของตัวเอง

โลกของคริปโตปัจจุบันซื้อขายกันต่ำว่าราคาสูงสุดที่เคยเกิดขึ้น (เช่นในปลายปี 2017) ถึง 70–90% ด้วยสถิติการเหวี่ยงของราคาที่น่ากลัวเช่นนี้ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยแสดงความวิตกกังวลกับความเสี่ยงและการผันผวนของราคา ยิ่งไปกว่านั้นตั้งแต่ต้นปี 2018 จนถึงปัจจุบัน ราคาของเหรียญในตลาดก็ไม่เคยพุ่งกลับไปอยู่ที่จุดเดิมอีกเลย เรียกได้ว่าเข้าสู่ช่วงของตลาดหมีมาสักระยะ ส่งผลให้นักเทรดหรือแม้กระทั่งสายขุด (PoW) ต้องเข้าสู่มาตรการรัดเข็มขัดและเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะสายขุด ที่พักหลังๆ เราจะเห็นข่าวเหมืองใหญ่ปิดตัวตามกันไประนาว ทั้งด้วยการรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว (ค่าไฟ, ค่าอุปกรย์, ค่าบำรุงรักษาเครื่องขุด) ความชะล่าใจนำเงินก้อนใหญ่ลงทุนขยายกำลังขุดในช่วงที่ราคาพีคสุดในปี 2017 และหลังจากนั้นราคากลับตกลงอย่างต่ำเตี้ยเรี่ยดินใน 3 เดือน ส่งผลให้นักลงทุนจำนวนมากเสียหายอย่างยับเยิน

ในปัจจุบันนอกจากการเทรดเพื่อทำกำไรรายวันแล้ว “การ HODL ถือเหรียญเอาไว้เฉยๆ” ด้วยการซื้อเหรียญในช่วงที่ราคาเริ่มต่ำลงในช่วงนั้นๆ เก็บไว้ ดูเหมือนจะกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการทำกำไรระยะยาวที่นักลงทุนหรือมองว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้อุ่นใจได้มากที่สุด
นอกจากนี้สายขุดเองก็เริ่มให้ความสนใจวิธีการขุดแบบ Staking มากขึ้น ด้วยความที่ไม่ต้องลงทุนจำนวนมหาศาลไปกับทรัพยากรเครื่องการขุด แต่สามารถใช้วิธีการซื้อเหรียญตามจำนวนมา Stake ไว้ วิธีนี้มองว่าหากวันหนึ่งเลิกขุดไป ก็ยังสามารถเอาเหรียญหรือทรัพยากรส่วนนี้ไปขายในตลาดได้ โดยที่ราคาอาจไม่เสื่อมหรือตกลงฮวบเหมือนเครื่องขุดแบบ Rig นั่นเอง

image

ภาพเหรียญระบบ PoS 10 อันดับแรกจากเว็บ https://masternodes.online (สืบค้นวันที่ 4 พ.ย. 2562) แนะนำว่าเห็น RoI สูงๆ อย่าเพิ่งรีบกระโดดเข้าไปล่ะ นักลงทุนควรสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรเจคแต่ละโปรเจคให้ละเอียดเสียก่อน หรืออย่างน้อยก็ควรรู้ว่าถ้าโปรเจคเหล่านี้ทำเกี่ยวกับอะไร ถ้าราคาขึ้น ขึ้นเพราะอะไร บางทีค่าผลกำไรที่สูงก็อาจมาจากการปั่นของคนที่ถือเหรียญไว้จำนวนมากๆ เทรดดันราคา เพื่อให้คนเข้ามาสนใจและซื้อเหรียญเพื่อทำโหนดเพิ่มก็เป็นได้

สิ่งเหล่านี้ทำให้ดูเหมือนว่าสามารถทำกำไรได้ง่ายๆ เพียง “แค่ถือเหรียญไว้” หลายๆคนจึงให้ความสนใจและอนุมานไปเองว่าการลงทุนแบบ Staking จะเป็นวิธีลงทุนที่ดีที่สุด ที่จะทำเงินได้ง่ายๆ ในระยะเวลาสั้นๆ กับสภาพตลาดหมีแบบนี้ เพราะเป็นเพียงการใช้เหรียญในมือและระบบของมันทำเงินให้

*ตลาดหมี เป็นภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปที่มีระดับลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลายาวนาน และปริมาณการซื้อขายหุ้นก็น้อย เปรียบเหมือนกับความเคลื่อนไหวของหมีที่อืดอาด เชื่องช้า

ถ้าอยาก Stake ควร Stake ให้ถูกวิธี

การ Staking ถูกพัฒนาจากความต้องการที่จะลดต้นทุนทรัพยากรจากการขุดแบบเก่า (Pow) รวมไปถึงความต้องการในการในการลดระยะเวลาในการตรวจสอบธุรกรรมลง แต่ก็ยังคงเป็นข้อถกเถียงถึงความปลอดภัย หากเงื่อนไขของการได้รับเงินรางวัลเป็นเพียงแค่การถือเหรียญเป็นจำนวนมากอย่างเดียวและกระจายเหรียญไม่ดีพอ (โดยทั่วไประบบ PoS ที่ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยมักจะเป็นระบบแบบ Hybrid)

แต่สิ่งนี้กลายเป็นแรงจูงใจที่รุนแรงต่อเทรดเดอร์ ที่อยากมีส่วนร่วมและควมคุบดูแลคริปโต ในปัจจุบันกลายเป็นแรงจูงใจให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการถือครองเหรียญไว้จำนวนมหาศาลเพื่อการ Stake โดยเฉพาะ เนื่องจากกลุ่มคนที่เข้ามาเป็นผู้ดูแลมักจะมาเพราะหวัง “รางวัล” จำนวนมากมายที่พวกเขาอาจ จะได้รับถ้ามีอำนาจในมือมากพอ กรณีแบบนี้ส่งผลให้นักลงทุนต้องมองภาพรวมของโปรเจคในระยะยาว เพราะรายได้จากการ Stake นั้นมาจาก “การทำธุรกรรม” การศึกษาหาข้อมูลเหรียญที่จะถือนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ควรสืบค้นที่มาที่ไป ลักษณะการทำงาน วงจรหรือ eco system ของมันให้ดี
เพราะการที่จะมีการ “ใช้เหรียญหรือทำธุรกรรม” เพื่อให้ค่าธุรกรรมคุ้มค่ากับการ Stake นั้นหมายความว่าโปรเจคหรือเหรียญนั้นๆ ต้องมี Ecosystem ที่ดี ใช้การได้จริงไม่ใช่แค่เหรียญเสกที่สมมติขึ้นมาว่ามันมีค่าโดยไม่มีแม้แต่คอนเซ็ปต์ โปรเจคเปล่านี้จะไม่สามารถคงอยู่ได้นาน เพราะจำเป็นต้องให้ค่าตอบแทนเป็นจำนวนมากกับผู้ดูแลอยู่เรื่อยๆ ฉะนั้นการเลือก stake ในโปรเจคที่ใช่ ถึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะนำกำไรเข้ามาเข้ามาสู่กระเป๋าคุณ

Proof-of-Work (PoW) ถูกนำเสนอผ่านบิทคอยน์ ในฐานะ Block validation method(บล็อกที่ตรวจสอบความสมเหตุผลสมผล) ของธุรกรรมในช่วงเวลานั้นๆ โดยไม่ต้องพึ่งคนกลาง(3rd party)

PoW ใช้พลังงานในการสร้างสำเนาข้อมูล และธุรกรรมในเครือข่ายด้วย bitcoin securing ผู้คนเริ่มจะค้นคว้าและสนใจในตัวของ PoW ในแนวทางที่สามารถประหยัดพลังงานในการทำ Validation(การตรวจสอบความสมเหตุสมผล) ได้

PoS ที่สามารถเข้าถึงและกระจายข้อมูลได้ดี ทำให้ผู้ถือเหรียญที่คอย Stake อยู่สามารถบล็อก “การปลอมแปลง” ต่างๆ โดยใช้วิธีการรักษากระเป๋าเงินออนไลน์หรือโหนดเอาไว้

Staking ในตอนเริ่มต้นนั้น เป็นขั้นตอนสำหรับการบันทึกธุรกรรมอย่างปลอดภัย ถูกพัฒนาขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ บางโปรเจ็คก็ดำเนินงานแบบ Hybrid โดยใช้ Staking ควบคู่กับ PoW หรือบางโปรเจคก็ใช้วิธีเพิ่มตัวแทนดูแลที่มาจากการโหวต หรือผู้ที่มีอิทธิพลในกลุ่มนั้นๆขึ้นมาทำหน้าที่ดูแล

จึงเกิดคำถามขึ้นว่า

Staking เพื่อรางวัล หรือ Staking เพื่อมีส่วนร่วม?

บทสัมภาษณ์ของคุณ Zaki Manian Co-Creator จาก Cosmos ได้ชี้ไปถึงประเด็นสำคัญ ผ่านการสัมภาษณ์กับทาง Coindesk ว่า:

“ความกระรือร้นที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระบบ Proof-of-Stake ส่วนหนึ่งมาจาก
การที่ผู้คนโหวตตนเอง เพื่อที่ตนเองจะได้รับเงินมากขึ้น ”

ในกรณีนี้สามารถพูดได้ว่า ผู้ถือเหรียญได้รับค่าตอบแทนมากเกินไปโดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย

ภาพลักษณ์ของ Staking นั้นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นคริปโตในเวอร์ชั่นของพันธบัตร เพราะมีโปรเจคที่ไม่จำเป็นต้องการให้คนเข้ามาทำงาน แค่ใช้เงินเข้ามา Staking ไว้และก็จะได้รับค่าตอบแทน การดำเนินงานแบบนี้นั้นมีความไม่มั่นคงอย่างมาก และคนที่เข้ามาในโปรเจค ก็คิดแค่ว่าสามารถมา “นั่งเล่นแล้วก็รับเงิน” จนกลายเป็นปัญหาในอนาคต

Staking เพื่อรางวัล หรือ อิทธิพล?

“ระบบการจัดการ Staking นั้นมีความรุนแรง เพราะมันรวบรวมปรัชญาที่สนับสนุนการขับเคลื่อนของคริปโตไว้ด้วยกัน ความเชื่อต่างๆของมนุษย์ที่พูดถึงการตัดสินใจเชิงโครงสร้างใหญ่ๆ จะไม่ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทภาพนักหากนำมาใช้กับระบบ Staking”

พักหลังๆ โปรเจคต่างๆ ที่ใช้ระบบ PoS ต่างเล็งจะใช้ระบบ “การโหวต” เพิ่มเข้ามาปฏิบัติใช้งานในคริปโต ทั้งระยะสั้นและในระยะยาวนี่ เพื่อกำจัดการแทรกแทรงจากคนกลาง
โดยปรับเปลี่ยนระบบกลายเป็นการติดต่อ peer to peer หรือเรียกว่าการปฏิสัมพันธ์โดยตรง และหลีกเลี่ยงการใช้ตัวแทนในการโหวต ทุกคนมีสิทธิโหวตเท่ากัน เหมือนกับในหลักการประชาธิปไตย แทนที่จะต้องตามเจ้าที่แค่มีเหรียญในกระเป๋าเยอะ (รวย) เท่านั้น

Staking ไม่ใช่แค่ได้รับค่าตอบแทน แต่ยังสามารถมอบทิศทางในอนาคตให้กับโปรเจคนั้นๆ หากใช้แรงจูงใจได้ถูกวิธี(เหรียญใช้งานได้จริง)
ด้วยแนวคิดนี้ โดยทั่วไปการที่จะได้รับเงินรางวัลจากการยืนยันธุรกรรมนั้น มักจะขึ้นอยู่กับว่า Node หรือคนที่ถือเหรียญจำนวนมาก “โหวตไปทิศทางไหน” แต่ด้วยแนวคิดที่มีการสอดแทรกระบบ Delegated Proof of Stake ซึ่งถูกคิดค้นโดยนาย Daniel Larimer ผู้เป็น Ceo ของ Bitshare ส่งให้การยืนยันธุรกรรมนั้นแตกต่างออกไปจากเดิม

แนวคิดการทำงานของระบบ
เหรียญจะถูกล็อคเอาไว้หลังจากที่คนที่ถือมันก้าวเข้าสู่การ Stake เพื่อยืนยันธุรกรรมในกับผู้ใช้ในระบบ และระบบนั้นจะใช้วิธีการ “ให้เจ้าของเหรียญนั้นๆ เลือกตอบว่าการทำธุรกรรมนี้จริงหรือเท็จ โดยอิงจากข้อมูลของเหรียญที่ถูกจัดเก็บไว้ใน Node แต่ละ Node ซึ่งหากโหวตได้ถูกต้อง (กฏเกณฑ์แตกต่างกันไปในแต่ละโปรเจค) ว่าธุรกรรมอันไหนจริงเท็จ เหรียญที่ถูกล็อคไว้จะถูกปลดคืนให้กับเจ้าของพร้อมค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม (ซึ่งหักมาจากเจ้าอื่นที่วางเงินเดิมพันเช่นกันแต่ดันตอบผิด)
ซึ่งวิธีนี้เรียกว่าการวางเงินเดิมพันนั่นเอง จะเห็นได้ว่ามันขึ้นอยู่กับว่าทิศทางในการตอบคำถามของถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับการลงความเห็นของ Node ส่วนมาก ว่าหลังจากตรวจสอบธุรกรรมย้อนหลังแล้วมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือไม่

ซึ่งความพีคของมันอยู่ตรงที่ “แล้วจะทำอย่างไรล่ะให้ Node ที่ตัวเองอยู่หรือเชียร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของเสียงข้างมากที่มีคำตอบถูกต้อง?” จุดนี้แหละที่นักลงทุนต้องทำการบ้านหน่อยว่าจะเอาเหรียญของตัวเองนั้นไปฝากอนาคตไว้กับ Node ไหนในระบบ (หรือแม้แต่จะสร้าง Node เองแล้วให้ชาวบ้านมาโหวต) ก็ต้องดูว่าคนที่ถือครอง Node นั้นเครดิตเป็นอย่างไร? ทำอะไรให้กับชุมชนและ eco ของเหรียญนั้นๆ บ้าง? คอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลที่ใช้มีศักยภาพแค่ไหนหากทำงานในระยะยาว? มีแนวคิดในการที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบให้เข้มแข็งขึ้นอย่างไร? ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลของมูลค่าเหรียญในระยะยาวทั้งสิ้น
ด้วยระบบนี้ส่งผลให้ไม่ใช่แค่เพียงคุณมีเงินในกระเป๋าเยอะแล้วจะได้รับการยอมรับและโหวตตลอดไป แต่หากไม่สามารถพัฒนาต่อยอด, โปรไฟล์ไม่ดีไม่มีประสบการณ์, ไม่มีโปรเจคที่จะพัฒนาต่อยอดอะไรอย่างยั่งยืนให้กับระบบ เข้ามาแล้วกินเงินภาษีไปวันๆ มันก็ไม่มีประโยชน์ สุดท้ายเหรียญและโปรเจคนั้นๆ ก็จะไม่ต่างจากโปรเจคลอยลมหลอกเอาเงินไปวันๆ และด้วยเรทราคาค่าธุรกรรมที่อาจต่ำเตี้ยลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนให้ค่าของเหรียญน้อย สุดท้ายคนก็จะเริ่มทยอยออกจากระบบตรงนี้ไป

ด้วยระบบนี้ ทำให้ทุกคนนั้นมีอำนาจอธิปไตยเท่าเทียมมัน เช่น ถ้าคุณซื้อบริการหรือโหวตระดับการใช้งานให้แอพลิเคชั่นใดๆ (หรือเปรียบได้กับการลงทุนหรือการสนับสนุนทางการเงิน) คุณก็จะเป็นเหมือนหนึ่งในผู้กำหนดทิศทางในอนาคตของแอพพลิเคชั่นนั้นๆ
เหมือนกับหลายๆ คน(ที่ถือหุ้นหรือสนับสนุนหรือบริษัทนั้นๆ) แต่มันจะนำมาซึ่งความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของคุณ ถึงเป็นอย่างนั้น มันก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อใจใครให้มาตัดสินใจแทนคุณ ซึ่งความตั้งใจของคุณอาจจะผิดเพี้ยนได้ หากอยู่ในคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวคุณ

“ถ้าคุณอยากจะมีส่วนร่วมในการ Staking ระยะยาว
คุณจำเป็นต้องเข้าใจถึงตัวโปรเจคให้ดีพอที่จะ Stake”

ถ้าคุณอยากจะพูดถึงกระบวนการทำงานของโปรเจค คุณควร Stake ในรูปแบบที่คุณจะเป็นเพียงผู้ใช้งาน แต่ถ้าเพื่อมีส่วนร่วมในโปรเจคคุณจำเป็นต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของโปรเจค ที่เกิดจากการโหวตของคนส่วนใหญ่ และตัดสินใจโหวตในสิ่งที่คุณคิดว่ามันจะให้สิ่งที่ดีที่สุดกับตัวโปรเจค

การ Staking สามารถให้ผลตอบแทนอย่างมีนัยยะสำคัญ เพียงแค่การโหวตจากการปรับปรุงโครงสร้างแย่ๆ ก็ยังได้รับค่าชดเชยได้(หากโหวตได้ดีและเลือกถูก) แต่ก็อย่างที่กล่าวไป การลงทุนในโปรเจคแนว PoS นั้นดูเผินๆ นั้นเหมือนจะง่าย แต่แท้จริงมีรายละเอียดหลายอย่างที่ควรใส่ใจ เพื่อความปลอดภัยในการลงทุนในระยะยาว
นอกจากนี้หากกำลังมองหาสกุลเงินดิจิตัลเหรียญแรกมาไว้ในครอบครอง ท่านสามารถเริ่มต้นทดลองเทรดได้ที่กระดานเทรด Bitkub.com ของเรา ซึ่งกระดานเทรดของเรานั้นได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง พร้อมทีมงาน support มืออาชีพที่พร้อมให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมงครับ

image
ผู้เขียน: Minyarinn Chaotrakul | 12 ธ.ค. 64 | อ่าน: 37,331
บทความล่าสุด