Blog

รู้จัก MNT (Mantle Network) : Modular Layer 2 ตัวแรกของ Ethereum นวัตกรรมปลี่ยนแปลงการพัฒนา DApp

image

MNT (Mantle) คืออะไร

Mantle Network (MNT) เป็นเทคโนโลยี Layer 2 ที่ทำงานร่วมกันได้กับ Ethereum Virtual Machine (EVM) โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Optimistic Rollup เพื่อบันทึกธุรกรรมนอกเครือข่ายอย่างปลอดภัยก่อนจะนำเข้าสู่บนเครือข่าย (on-chain) ซึ่งช่วยทำให้ค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า มีความปลอดภัยและความสามารถในการทำธุรกรรมมีปริมาณสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ Ethereum

โดย Mantle Network ทำหน้าที่ปรับในการปรับขนาดและทำงานร่วมกันได้ (interoperable) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาและใช้งานแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (dApps) และ Smart contract โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของบล็อกเชน และเปิดประสบการของผู้ใช้งาน

หน้าที่หลักของเครือข่ายนี้คือการออกแบบเครือข่ายแบบ Modular เป็นการแบ่งการทำงานของทรัพยากรออกเป็นเลเยอร์ต่างๆ ที่ส่งผลให้ปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นและเพิ่มความสามารถในการปรับตัวของเครือข่าย ซึ่งถือเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมันของการพัฒนาเครือข่ายแบบ Modular ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย

ความสามารถหลักของ Mantle Network

1.ทำหน้าที่เป็น Rollup เพื่อทำให้ผู้ตรวจสอบ (validator) ของ Ethereum และการทำงานบนฉันทามติสามารถลดค่าธรรมเนียมแก๊ส ลดระยะเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูลไปยังปลายทางบนเครือข่าย และเพิ่มปริมาณของข้อมูลที่ถูกประมาลผลในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งข้อกำหนดการยืนยันธุรกรรมเพื่อให้มีปลอดภัย

2.Modular Architecture มีความแตกต่างจาก monolithic chains ที่ดำเนินการทำธุรกรรม ทำงานบนฉันทามติ การชำระเงินและการจัดเก็บในแต่ละเลเยอร์บนเครือข่ายเดียว แต่สำหรับ Mantle ใช้ความสามารถของ Modular Architecture แยกฟังก์ชันเหล่านี้ออกเป็น module ในแต่ละ modular chain ซึ่งรวมถึงสามารถรองรับการทำงานกับ EVM ที่พัฒนาโดย Mantle สำหรับการดำเนินการธุรกรรม ทำงานบนฉันทามติ และส่วนของการชำระเงินที่เสร็จสมบรูณ์บน Ethereum และส่วนประกอบ DA จากภายนอก (ปัจจุบัน DA ของ Mantle ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี EigenDA เราจะเปลี่ยนไปใช้ EigenDA เมื่อเปิดตัวบนเมนเน็ตที่เสถียรแล้ว)

3.ความปลอดภัยจากการทำงานของเครือข่าย Ethereum โดยการเปลี่ยนสถานะมาเป็น Layer 2 จะได้รับการยืนยันโดยผู้ตรวจสอบ (Validator) ของ Ethereum โดยผ่านกระบวนการฉันทามติและการชำระเงินแบบเดียวกับธุรกรรมบน Layer 1

4.Modular Data Availability เป็นส่วนของ Data layer ที่เป็นส่วนที่ทำให้มั่นใจว่าข้อมูลทุกอย่างบนบล็อกเชนสามารถเข้าถึงได้โดยของ Mantle เป็นแบบอิสระ ที่ทำงานด้วย EigenLayer ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น 90% เมื่อเปรียบเทียบกับ Layer 1

ผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนา Mantle Network

Mantle Network เป็นเครือข่ายที่ไม่มีผู้ก่อตั้ง แต่เป็นเครือข่ายที่ควบคุมโดย Decentralized Autonomous Organization (DAO) ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่สำคัญผ่านการควบคุมของผู้ถือโทเคน MNT แต่ในการพัฒนาและทำงานในช่วงแรกมี jacobc.eth และ Ben Zhou เป็นผู้มีส่วนสนับสนุนที่สำคัญของการเปิดตัวเบื้องค้นของ Mantle Network

Mantle Network กำเนิดมาจากโปรเจกต์ Layer 2 ของ Ethereum ที่ได้รับการสนับสนุนจาก BitDAO เมื่อ เดือนมิถุนายน 2022 โดยเริ่มเปิดใช้งานครั้งแรกบน Testnet เมื่อเดือนมกราคม 2023 เพื่อสร้างโซลูชันแบบ Modular ที่จะขยายขีดความสามารถ Smart contract ของ Ethereum

ในเดือนพฤษภาคม 2023 BitDAO ได้รับผ่านการโหวต ส่งผลให้ BitDAO เปลี่ยนชื่อเป็น Mantle และโทเคนนของ ERC-20 BIT ถูกย้ายไปยัง ERC-20 MNT หลังจากนั้น Mantle Network ได้เปิดตัว Mainnet alpha ในเดือนกรกฎาคม 2023

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2023 เปิดตัว Mantle Journey เพิ่มคุณสมบัติ Multi-sig ของเครือข่ายเปิดตัวเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2023 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2023 เปิดตัว Mantle Liquid Staking Protocol (LSP) Alpha โดยอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถ Staking เหรียญ ETH ดั้งเดิมเพื่อรับ mETH บน Ethereum เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2024 การอัปเกรด Tectonic (V2) ของ Mantle Network เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยการแนะนำการรองรับ EIP-1559 มีการการลบโหนด Threshold Signature Scheme (TSS) และกำหนดการบล็อกคงที่ที่มีการสร้างบล็อกทุกๆ สองวินาที นอกจากนี้ หลังจากอัปเกรด Mantle V2 Tectonic แล้ว MNT ก็กลายมาเป็นโทเคนดั้งเดิมของ Mantle ในขณะที่โทเคนดังกล่าวก่อนหน้านี้เป็น “bridged version” ของ Ethereum ERC-20"

MNT ใช้งานสำหรับอะไร?

โทเคน MNT เป็น utility token มีบทบาทสำคัญในการทำงานบนระบบนิเวศ Mantle ทั้งหมด 2 ประการ คือ

1.Utility Token : โทเคน MNT มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานหลายประการ เช่น

— ใช้เป็นค่าแก๊ส (Gas Fees) บน Mantle Network Layer 2 เพื่อให้การทำให้ธุรกรรมมีประสิทธิภาพและคุ้มต้นทุนมากขึ้น
.
— ใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน (Collateral Assets) โทเคน MNT สามารถใช้เป็นสินทรัพย์สินทรัพย์ค้ำประกันสำหรับโหนดเครือข่าย Mantle โดยสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมและมีส่วนสนับสนุนด้านความปลอดภัยและเสถียรภาพของเครือข่าย

2.Governance Token : โทเคน MNT จะมีนำ้หนักในการลงคะแนนเสียงเท่ากัน ทำให้ผู้ถือโทเคนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจผ่านการลงคะแนนเสียงของ DAO วิธีนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีแนวทางแบบกระจายอำนาจและขับเคลื่อนโดยชุมชนในการกำหนดอนาคตของระบบนิเวศ Mantle

ประโยชน์ของโทเคน MNT นั้นคุณสมบัติมากกว่าการใช้เป็นค่าธรรมเนียมธุรกรรมและสินทรัพย์ค้ำประกันสำหรับโหนด แต่โทเคน MNT ถือเป็นรากฐานสำคัญของ Mantle Reward Station ซึ่งให้รางวัลแก่ผู้เข้าร่วมในระบบนิเวศและขยายขอบเขตการใช้งานของโทเคน นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกในการซื้อขายและการสร้างสภาพคล่องอีกด้วย ดังที่เห็นได้จาก MNT ที่เป็นเวอร์ชัน wrapped เอาไว้กับแพลตฟอร์มสภาพคล่องอย่าง STON.fi ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ Mantle Liquidity Staking Protocol (LSP) ยังมอบโอกาสให้ผู้ใช้สามารถ stake ETH ของตนและจะได้รับ mETH (Mantle Staked Ether) เป็นการตอบแทน ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างผลตอบแทนภายในเครือข่าย Mantle

Mantle แตกต่างจาก Ethereum Layer 2 อย่างไร

image

ที่มา Mirror

ระบบนิเวศ Mantle แตกต่างจาก Ethereum Layer 2 ตัวอื่นๆ โดยการใช้ Modular architecture ที่แยกทรัพยากรแต่ละรายการออกเป็นเลเยอร์ใหม่ ซึ่งแตกต่างจากบล็อกเชนแบบ Monolithic blockchain ที่ทำให้ผู้ดำเนินการเครือข่ายสามารถดำเนินการได้เองทั้งหมด โดยการออกแบบตัว Modular ใช้การสร้าง ซอฟต์แวร์สำหรับแต่ละเลเยอร์แยกกัน

สำหรับการทำงานแบบ Modular blockchain แต่ละเลเยอร์สามารถสลับ ปรับเปลี่ยน และเทนที่เพื่อสร้างประสิทธิภาพที่มีความเหมาะสมตามความต้องการของเครือข่าย นอกจากนี้ Mantle ยังมีสิ่งที่เรียกว่า Multi-Party Computation (MPC) ช่วยจำจำกัดความเสี่ยงด้านความน่าเชื่อถือในระหว่างการดำเนินการโปรโตคอล

image

ที่มา Mirror

โดยที่ผ่านมา Mantle ได้รับความสนใจจากพันธมิตรด้านเทคโนโลยี ตัวโปรเจกต์นี้มีระบบนิเวศของพันธมิตรอย่างกว้างขวางที่ให้การสนับสนุนจากนักพัฒนาบนบล็อกเชนของ Mantle นอกจากนี้ยังครอบคลุมชุมชน Web3 ขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้นักพัฒนาสามารถกำหนดเป้าหมายผู้ใช้แอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (Dapps) ได้มากขึ้น ช่วยทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนา อัปเกรด หรือเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบหรือ Module แต่ชิ้นได้อย่างอิสระโดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบทั้งหมด ทำให้การพัฒนานวัตกรรมทำได้เร็วขึ้น และการบำรุงรักษาง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ใช้งานปรับแต่งเครือข่ายให้เหมาะสมกับความต้องเฉพาะได้ โดยเลือกเฉพาะ Module ที่เกี่ยวข้องเป็นกรณี ซึ่งทำให้บล็อกเชนมีประสิทธิภาพและปรับแต่ได้ตามต้องการมากขึ้น

อุปทานรวมของโทเคน MNT และการกระจายเหรียญ

image

การแจกจ่ายโทเคน MNT เริ่มต้นในวันที่ 7 กรกฎาคม 2023 มีรายละเอียดดังนี้

— Mantle Treasury : 3,046,328,614 MNT อัตราส่วน 49.0%
— ปริมาณเหรียญที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ : 3,172,988,154 MNT อัตราส่วน 51.0%
— มีอุปทานสูงสุด 6,219,316,768 MNT อัตราส่วน 100.0%

การกระจายเหรียญจาก Mantle Treasury

การแจกจ่ายโทเคน MNT จาก Mantle Treasury อยู่ภายใต้กระบวนการกำกับดูแลของ Mantle Treasury มีการดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลจาก Mantle Governance โดย การจัดทำงบประมาณ การเรียกระดมทุน (Capital call) และการกระจายเหรียญมีขั้นตอนที่เข้มงวด ซึ่งแสดงให้เห็นจากงบประมาณเครือข่าย Mantle ของ BIP-19 โดยเมื่อเดือนมิถุนายน 2023 นั้นยังไม่มีการหารืออย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเป้าหมายระดับมหาภาค หรือข้อจำกัดเกี่ยวกับการกระจายโทเคน MNT อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีหมวดหมู่หลักดังต่อไปนี้ คือ

1.แรงจูงใจสำหรับผู้ใช้งาน : ผลักดันการนำผลิตภัณฑ์ของ Mantle ไปใช้ผ่านกลยุทธ์ต่างๆ เช่น ความสำเร็จในแต่ละช่วงเวลา การทำภารกิจ และโปรแกรมสร้างแรงจูงใจอื่นๆ โดยตัวชี้วัดมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในแต่ละวัน จำนวนการธุรกรรมรวม ค่าธรรมเนียมธุรกรรมบนโปรโตคอล และมูลค่ารวมที่ล็อกไว้ (TVL) เป็นต้น โดยแรงจูงใจเหล่านี้เป็นการดึงดูดและสร้างการมีส่วนกับผู้ใช้งานในระบบนิเวศ Mantle

2.สร้างแรงจูงใจสำหรับพันธมิตรด้านเทคโนโลยี : ในหมวดนี้เป็นรูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนา DApps โครงสร้างพื้นฐาน ผู้ให้บริการ และพันธมิตรด้านเทคโนโลยี ที่เป็นโปรโตคอลหลักที่สนับสนุน ที่สนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาของระบบนิเวศ Mantle ด้วยการให้แรงจูงใจแก่พันธมิตรเหล่านี้ Mantle มุ่งหวังที่จะส่งเสริมความร่วมมือและหุ้นส่วนที่เสริมสร้างระบบนิเวศโดยรวมและขยายขีดความสามารถของระบบนิเวศ

3.ทีมผู้มีส่วนสนับสนุนหลักและที่ปรึกษา: หมวดหมู่นี้อยู่ภายใต้กระบวนการเสนอแผนงบประมาณเดียวกัน โดยรับประกันความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยากรให้กับทีมและที่ปรึกษาที่สนับสนุนความสำเร็จของโครงการอย่างจริงจัง

4.โอกาสอื่นๆ: ในหมวดนี้รวมถึงโอกาสที่อาจเกิดขึ้น เช่น การซื้อกิจการ การแลกโทเคน การขายพันธบัตร และข้อตกลงอื่นๆ โอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นจะถูกประเมินเป็นรายกรณีไป โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่อาจเกิดกับระบบนิเวศ Mantle และที่มีแนวทางสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ

ข้อมูลน่าสนใจด้านราคาของ MNT

image

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Coinmarketcap เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2024 เหรียญ MNT มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market cap) ที่ 1,937,300,171 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 66,331,228,699 บาท

ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ เหรียญ MNT ซื้อขายกันอยู่ที่ราคาประมาณ 0.593 ดอลลาร์ 20.30 บาทต่อ 1 MNT โดย MNT เคยทำราคาสูงสุด (All-time high) ที่ 1.51 ดอลลาร์ หรือ 51.53 บาท ต่อ 1 MNT เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2024

อ้างอิง: Mantle, Techopedia, CoinMarketCap

— — — — — — — — — — — — — — — — —

คำเตือน:

- สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

- ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

— — — — — — — — — — — — — — — — —

Introducing MNT (Mantle Network): The First Modular Layer 2 on Ethereum Revolutionizing DApp Development

image

What is MNT (Mantle)

Mantle Network (MNT) is a Layer 2 technology that is interoperable with the Ethereum Virtual Machine (EVM). It utilizes Optimistic Rollup technology to securely process off-chain transactions, enabling lower fees, greater security, and higher transaction throughput.

Mantle Network is scalable and compatible with facilitating the development and deployment of decentralized applications (dApps) and smart contracts. The network focuses on improving blockchain performance and user experience.

The network’s primary purpose is to design a modular network, which divides the functionality of resources into layers. This results in increased transaction throughput and network adaptability, demonstrating the commitment to improving network performance through modular development.

Mantle Network: Key Features

1.Rollup: will enable Ethereum validators and consensus work to reduce gas fees, reduce data latency, and increase transaction throughput. Users can customize the terms of transaction confirmation to ensure security.

2.Modular Architecture: Unlike monolithic chains that process transactions, consensus, payment, and storage at different layers on a single network, Mantle uses Modular Architecture to separate these functions into modules on each modular chain. This includes support for the EVM developed by Mantle for transaction processing and consensus work. The payment part is completed on Ethereum and external DA components. (Currently, Mantle’s DA is powered by EigenDA technology. We will switch to EigenDA when it is launched on a stable mainnet.)

3.The Ethereum network ensures security. Layer 2 transactions are confirmed by Ethereum’s validators through the same consensus process and payment as Layer 1 transactions.

4.Modular Data Availability is the data layer that ensures all data on the blockchain is accessible by Mantle. It is independent of other layers and works with EigenLayer to increase efficiency and reduce costs by 90% compared to Layer 1.

Who’s Behind Mantle Network?

Mantle Network is a founderless network controlled by a Decentralized Autonomous Organization (DAO). MNT token holders make important decisions. In the early stages, jacobc.eth and Ben Zhou were key contributors.

Mantle Network originated as an Ethereum Layer 2 project supported by BitDAO in June 2022. It was first launched on Testnet in January 2023 to create a modular solution that extends Ethereum’s smart contract capabilities.

In May 2023, BitDAO passed a governance proposal, resulting in the name change to Mantle and the conversion of the ERC-20 BIT to ERC-20 MNT. Mantle Network then launched its Mainnet alpha in July 2023.

On August 29, 2023, Mantle Journey was launched, adding the network’s multi-sig capabilities. On September 8, 2023, the Mantle Liquid Staking Protocol (LSP) alpha was launched, allowing users to stake native ETH to earn mETH on Ethereum. On March 15, 2024, the Mantle Network’s Tectonic (V2) upgrade was completed. This included the introduction of EIP-1559 support, the removal of Threshold Signature Scheme (TSS) nodes, and a fixed block schedule where blocks are generated every two seconds. Additionally, after the Mantle V2 Tectonic upgrade, MNT became the native token of Mantle, whereas it was previously a “bridged version” of Ethereum ERC-20.

What is MNT used for?

MNT Token is a utility token that plays two key roles in the operation of the entire Mantle ecosystem:

— Gas Fees: MNT Token is used to pay gas fees on the Mantle Network Layer 2.
.
Collateral Assets: MNT Token can be used as a collateral asset for Mantle network nodes, incentivizing participation and contributing to the security and stability of the network.
.
Governance: MNT Tokens carry equal voting weight, allowing token holders to participate in the decision-making process through DAO voting. This ensures a decentralized, community-driven approach to shaping the future of the Mantle ecosystem.

The MNT token is the foundation of the Mantle Reward Station, which rewards ecosystem participants and expands the token’s usability, going beyond transaction fees and collateral for nodes. This includes easily exchanging wrapped versions of MNT with liquidity platforms like STON.fi, offering an alternative method for earning rewards within the Mantle network. Additionally, the Mantle Liquidity Staking Protocol (LSP) allows users to stake their ETH and receive mETH (Mantle Staked Ether) in return.

How does Mantle’s technology differ from other Layer 2 protocols on Ethereum?

image

ที่มา Mirror

The Mantle ecosystem differs from other Ethereum Layer 2s by its modular architecture. This separates each resource into a new layer. Unlike monolithic blockchains, which are operated entirely by network operators, the modular design uses separate software for each layer.

Modular blockchains allow each layer to be swapped, changed, and reused to tailor performance to the network’s needs. Mantle also features Multi-Party Computation (MPC), which reduces trust requirements during protocol operation.

image

ที่มา Mirror

Mantle has gained support from technology partners. The project has a large ecosystem of partners supporting developers on the Mantle blockchain, as well as a large Web3 community. This allows developers to target more users of decentralized applications (Dapps). It also enables developers to independently develop, upgrade, or change individual components or modules without affecting the entire system. This allows for faster innovation and easier maintenance. Additionally, users can customize the network to suit their specific needs by selecting only relevant modules on a case-by-case basis, making the blockchain more efficient and scalable.

Supply and Token Distribution

image

MNT token distribution starts on July 7, 2023, details are as follows:

— Mantle Treasury: 3,046,328,614 MNT, 49.0%
— Circulating: 3,172,988,154 MNT, 51.0%
— Max Supply: 6,219,316,768 MNT, 100.0%

The distribution of MNT tokens from the Mantle Treasury is overseen by Mantle Governance. The budgeting, capital call, and distribution processes are strictly outlined in BIP-19. While there have been no formal discussions regarding macro goals or limits on the distribution of MNT tokens, the following main categories are expected:

1.User Incentives: Increase Mantle product adoption through strategies such as milestones, missions, and other incentive programs. Metrics target usage, including daily usage, total transactions, transaction fees on the protocol, and total value locked (TVL). These incentives are designed to attract and engage users in the Mantle ecosystem.

2.Technology Partner Incentives: Incentivize the development of DApps, infrastructure, service providers, and technology partners that are core protocols supporting the growth and development of the Mantle ecosystem. This aims to foster collaborations and partnerships that strengthen the overall ecosystem and expand its capabilities.

3.Core Contributors and Advisors: This category is subject to the same budget proposal process, ensuring transparency and accountability in allocating resources to teams and advisors who are actively supporting the success of the project.

4.Other Opportunities: This category includes potential opportunities such as acquisitions, token exchanges, bond sales, and other deals. Potential opportunities are evaluated on a case-by-case basis, taking into account the potential benefits to the Mantle ecosystem and alignment with the project’s goals.

Interesting information about MNT

image

According to CoinMarketCap data on September 3, 2024, the MNT token had a market capitalization of $1,937,300,171 or 66,331,228,699 Thai Baht.

At the time of writing, MNT was trading at approximately $0.593 or 20.30 Thai Baht per token. MNT had reached an all-time high of $1.51 or 51.53 Thai Baht per token on April 8, 2024.

Reference: Mantle, Techopedia, CoinMarketCap

— — — — — — — — — — — — — — — — —

Disclaimer:

-Digital assets involve risks; investors should study information carefully and make investments according to their own risk profile.

-Past Returns do not guarantee future returns/performance.

Source:

Medium

Author: Napisa Wisuttipun | 17 Nov 2024 | Read: 632
Latest blog posts